“หากระบบดิจิทัลจะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนได้ มันต้องถูกออกแบบมาอย่างดีเท่านั้น”
เป็นหนึ่งในคำอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างแอพพลิเคชั่นมือถือ กับการควบคุมและรักษาโรคไม่ติดต่อ (NCDs) จากการวิจัยพบว่า การที่สถานประกอบการหรือบริษัทขนาดใหญ่ทั่วโลก จะประสบความสำเร็จในการสร้างเสริมสุขภาพของพนักงาน ปัจจุบันต้องอาศัยปัจจัยด้านดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าการมีเพียงแอพพลิเคชั่นด้านสุขภาพมาให้ลูกจ้างในสถานประกอบการได้ใช้งาน จะทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นทันที
งานศึกษาของ ดร.เดโช สุรางค์ศรีรัฐ นักวิจัยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้หัวข้อ ‘รายงานการวิจัยทบทวนองค์ความรู้และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระบบข้อมูลและแอปพลิเคชันเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อของสถานประกอบการในระบบการจ้างงาน และระบบประกันสุขภาพ’ พาเราย้อนกลับไปทบทวนทิศทางของการนำสิ่งใหม่อย่างแอพพลิเคชั่นมือถือมาใช้ เพื่อให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพของลูกจ้างในสถานประกอบการ ไปจนถึงคนวัยแรงงานอื่นๆ ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญของแอพพลิเคชั่นสุขภาพที่พัฒนาโดยหน่วยงานรัฐของไทย มีความแตกต่างเป็นอย่างมากกับแอพพลิเคชั่นด้านสุขภาพที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ โดยเฉพาะการออกแบบมาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ใช้ กับขอบเขตเพียงแค่การบริการผู้ใช้งานเท่านั้น
บทความต้นฉบับ
- เปิดแอพฯ เช็คสุขภาพลดโรคลดป่วย ช่วยมนุษย์วัยทำงาน, เวบไซต์: waymagazine.org