การล้างผักและผลไม้เพื่อลดสารพิษตกค้าง ขั้นตอนง่ายๆ เพื่อสุขภาพที่ดี

ในปัจจุบัน ผักและผลไม้ถือเป็นอาหารสำคัญที่ผู้คนบริโภคเพื่อรับสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในกระบวนการเพาะปลูก ผักและผลไม้อาจได้รับสารเคมี เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าเชื้อรา ทำให้มีสารพิษตกค้างที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ดังนั้น การล้างผักและผลไม้เพื่อลดสารพิษตกค้างก่อนการบริโภคจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ

ทำไมเราต้องล้างผักและผลไม้ให้สะอาด

ยาฆ่าแมลงและสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรมักถูกใช้เพื่อป้องกันแมลงและเชื้อโรคต่างๆ แต่สารเหล่านี้อาจยังคงตกค้างบนผิวผักและผลไม้ การรับประทานผักและผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น การแพ้สารเคมี หรือความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในอนาคต

การเลือกผักและผลไม้

1.มีสีสันตามธรรมชาติไม่มีคราบขาวของสารเคมีหรือกลิ่นที่ผิดปกติ

2.มีรอยกัดของหนอนหรือแมลงอยู่บ้าง

3.เลือกผักและผลไม้ตามฤดูกาล

การเตรียมผักและผลไม้ก่อนล้าง

  1. นำส่วนที่รับประทานไม่ได้ออก เช่น ราก
  2. แกะหรือคลี่ใบออก
  3. ถ้ามีเศษดินติดรากให้เคาะออก

วิธีล้างผักและผลไม้

ล้างด้วยน้ำธรรมดา

  1. แช่ในน้ำนาน 5-20 นาที
  2. เขย่า/ลูบเบาๆ
  3. ล้างผ่านน้ำสะอาดไหลซ้ำอีกครั้งหนึ่งไม่น้อยกว่า 30 วินาที

*เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการล้างผักและผลไม้จำนวนน้อย

ล้างด้วยน้ำส้มสายซู

  1. ผสมน้ำส้มสายซูประมาณ 200 มล.ต่อน้ำ 2 ลิตร
  2. แช่ให้ท่วมผักและผลไม้ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด

ล้างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต

  1. ผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัมต่อน้ำ 4 ลิตร
  2. แช่ให้ท่วมผักและผลไม้ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด

กรณีใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับผักและผลไม้

  1. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีเลขสารบนอาหาร
  2. วิธีเตรียมหรือวิธีล้างตามข้อแนะนำที่ระบุไว้บนฉลาก

ที่สำคัญ!! อย. ไม่แนะนำให้ล้างผักและผลไม้ด้วยสารละลายน้ำผสมด่านทับทินเนื่องจากตามกฎหมายยังไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร

การล้างผักและผลไม้ก่อนบริโภคเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยลดสารพิษตกค้างและป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ ควรเลือกวิธีการล้างที่เหมาะสมและใช้เวลาอย่างเพียงพอเพื่อให้มั่นใจว่าผักและผลไม้ปลอดภัยต่อการบริโภค การล้างด้วยน้ำสะอาด การแช่ในน้ำเกลือ น้ำส้มสายชู หรือเบกกิ้งโซดา เป็นวิธีที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและครอบครัว

บทความต้นฉบับ

นิตยสารสาระวิทย์ ฉบับที่ 135 เดือน มิถุนายน 2567