ผลกระทบต่อสุขภาพจากโซเดียม

การบริโภคโซเดียมในปริมาณมากเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สามารถทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases, NCDs) ได้ NCDs เป็นกลุ่มของโรคที่พบมากขึ้นในปัจจุบันและมักเกิดจากพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของเรา ซึ่งในปัจจุบันประชากรในประเทศไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 13 ล้านคน โรคไตเรื้อรัง 7.6 ล้านคน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 7.5 แสนคน และโรคหลอดเลือดสมอง 5 แสนคน โรคเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด ดังนั้นเราควรหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น และบริโภคโซเดียมใน 1 วัน ไม่ควรเกิน 2000 มิลลิกรัม หรือเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือเทียบเท่าน้ำปลาไม่เกิน 4 ช้อนชาเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ

วิธีป้องกันและลดโรคเอ็นซีดี

1. ลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง: ควรลดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา กะปิ ,อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม อาหารกระป๋อง, อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวต้มโจ๊กปรุงแต่ง เป็นต้น

2. เลือกอาหารที่มีโซเดียมต่ำ: การเลือกบริโภคผลไม้, ผัก, และอาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป

3. ออกกำลังกาย: การออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยลดความดันโลหิต, ลดน้ำหนัก และส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

4. ตรวจสุขภาพประจำ: การตรวจสุขภาพประจำอย่างสม่ำเสมอช่วยตรวจจับโรคเอ็นซีดีในระยะเริ่มต้น

การกินอาหารให้ครบหมู่มีความหลากหลายมีปริมาณที่เหมาะสม ลดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้ ดื่มน้ำเปล่าเป็นประจำ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็เป็นอีกส่วนที่จะช่วยลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

อ้างอิง

ThaiSook