ในปัจจุบันชีวิตการทำงานเต็มไปดวยความเร่งรีบ ทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพ เลยส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือ NCDs เช่น เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันสะสม เป็นต้น การออกกำลังกายจึงเป็นหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยป้องกัน และชะลอความเสื่อมของร่างกาย ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายควรออกอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 30 นาทีต่อวัน แบ่งการออกกำลังกายเป็น 3 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์
การเลือกออกกำลังกายสำหรับวัยทำงาน
ควรเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับความชอบและร่างกายของเรา ในช่วงแรกอาจจะพยายามเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันต่างๆ ทั้งในที่ทำงาน บ้าน หรือระหว่างการเดินทางให้มากที่สุด จากนั้นค่อยๆ เพิ่มการออกกำลังกายอย่างอื่นเข้ามา เช่น
คาร์ดิโอ: เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ เสริมสร้างระบบหัวใจและหลอดเลือด
สร้างกล้ามเนื้อ: ยกน้ำหนัก ดึงข้อ บอดี้เวท ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก
ยืดเหยียด: โยคะ พิลาทิส ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย ลดอาการบาดเจ็บ
เริ่มต้นการออกกำลังกาย
1. เริ่มจากการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก ค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาและความหนักหน่วง
2. วอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกาย โดยการยืดกล้ามเนื้อเบาๆ ประมาณ 5-10 นาที
3. ยืดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย โดยยืดกล้ามเนื้อเบาๆ ประมาณ 5-10 นาที เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยดื่มน้ำก่อน ระหว่าง และหลังออกกำลังกาย
5.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็น
6.หากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
อ้างอิง
- กรมอนามัย. (2557). การออกกำลังกายในวัยทำงาน. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com
- กรมอนามัย. (2562). รู้จักสารพฤกษเคมี ในผลไม้ 5 สี สืบค้นจาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/fruit/