เปิดตัวโครงการ “MED PSU x ThaiSook Healthier Challenge”

6 กรกฎาคม 2565 ณ ลานสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภาพบรรยากาศการเปิดตัวโครงการ “MED PSU x ThaiSook Healthier Challenge” การจัดกิจกรรมระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังผ่านโมเดลการแข่งขันแบบออนไลน์บนแอปพลิเคชัน ไทยสุข (ThaiSook) โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ร่วมเปิดตัวโครงการ วิทยากร: ผศ.นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราช รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ คณะแพทยศาสตร์, ดร.เดโช สุรางค์ศรีรัฐ นักวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.), ผศ.ดร.นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ป้องกัน, นพ.ธนพล นิลโมจน์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์, ดร.นพ.ชายธง ชูเรืองสุข หน่วยโภชนศาสตร์คลีนิคและโรคอ้วน สาขาวิชาอายุรศาสตร์, นพ.สุทธิพงษ์ ทิพยชาติโยธิน สาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู อ่านรายละเอียดการแข่งขันเพิ่มเติมได้ทาง MED PSU Healthier … Read more

สรุปผลรางวัล NSTDA Virtual Challenge (26 เมษายน – 1 มิถุนายน)

เกณฑ์แข่งขันรายสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 1 ออกกำลังกาย(20 รางวัล)          ออกกำลัง 30 นาทีต่อครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้งรายชื่อทีมที่ได้รางวัล สัปดาห์ที่ 2 กินผักผลไม้(20 รางวัล) กินผักผลไม้เฉลี่ยอย่างน้อย 3 ส่วนต่อวัน (วิธีการประมาณ)รายชื่อทีมที่ได้รางวัล สัปดาห์ที่ 3 สร้างนิสัยที่ดี(20 รางวัล) ได้คะแนนในแอปพลิเคชันอย่างน้อย 45 คะแนนในสัปดาห์รายชื่อทีมที่ได้รางวัล สัปดาห์ที่ 4 เดินวิ่ง (20 รางวัล) เดินมากกว่า 8,000 ก้าวต่อวันอย่างน้อย 3 วัน หรือระยะทางสะสม 20 กม.รายชื่อทีมที่ได้รางวัล ทุกสัปดาห์ พักผ่อนเพียงพอ (3 รางวัล)         บันทึกการนอน 7-8 ชั่วโมงทุกวัน ในเวลาที่สม่ำเสมอ เกณฑ์รางวัลตลอด 5 สัปดาห์ รวม 4 กิจกรรม – โพสต์ประกาศรางวัลรวม … Read more

รู้ไหมว่า…เส้นรอบเอวสามารถบอกถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพได้

ขนาดของเส้นรอบเอวที่วัดผ่านระดับสะดือ สามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงทางสุขภาพได้ ซึ่งวิธีการวัดเส้นรอบเอวที่ถูกต้องคือใช้สายวัดวัดรอบเอวผ่านระดับสะดือให้อยู่แนวขนานกับพื้นและไม่รัดแน่นหรือหลวมจนเกินไป แล้วเราจะทราบได้ยังไงว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการวัดเส้นรอบเอวควรเป็นเท่าไหร่ เกณฑ์ที่เราจะสามารถวัดได้คือ ” เกณฑ์เส้นรอบเอวที่เหมาะสมคือ ไม่ควรเกินส่วนสูง (เซนติเมตร) หาร 2 “ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร หารด้วย 2 ดังนั้น เส้นรอบเอวที่เหมาะสมจึงไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร เป็นต้น หากมีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์ มีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคอ้วนลงพุง โรคหัวใจไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นหากอยากห่างไกลจากความเสี่ยงการเกิดโรค มีหลักการปฎิบัติตนสำหรับลดพุงลดเอวง่ายๆ ตามนี้เลยค่ะ 2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และบริหารร่างกายลดไขมันเฉพาะส่วน เช่น การเล่นฮูล่าฮูป ซิทอัพ การออกกำลังกายโดยใช้ท่าแพลงก์ อ้างอิง เส้นรอบเอว,Know Your Numbers & Know Your Risks รู้ตัวเลข รู้ความเสี่ยงสุขภาพ,กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข

อบรมสุขภาพดี Healthier You – 26 เมษายน 2565

อยากมีสุขภาพดีจะเริ่มยังไง ? แล้วจะสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกาย ยังไงดีนะ ? ขอเชิญชวนทุกท่าน ” มาเรียนรู้วิธีดูแลสุขภาพตนเอง ให้มีสุขภาพดีตลอดไป “ผ่านการ อบรมสุขภาพดี โดย โครงการ NSTDA x ThaiSook Virtual Challenge 🎉🎉 📌กำหนดการกิจกรรม 26 เมษายน 2565 เวลา 13:30 -16:30 น. ซึ่งเราได้เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ การดูแลสุขภาพ การรู้จักโรค NCDs การสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกาย โภชนาการอาหาร มาให้ความรู้กับทุกท่าน ผ่านช่องทาง Live Facebook: Thaisook ไทยสุข 📌เตรียมพร้อมสู่การมีสุขภาพที่ดี กันได้แล้วเพียง กรอกแบบฟอร์มเข้าร่วมการอบรมสุขภาพดี 😍🥳 นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมสุขภาพดีทุกท่าน จะได้รับ e-Certificate สุขภาพดี หลังจบการอบรมเป็นที่ระลึกกันด้วยนะค่ะ 🥳 ตารางอบรมสุขภาพดี (Healthier You) ในวันที่ 26 … Read more

กินผักและผลไม้อย่างไร ให้มีสุขภาพดี

การศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากการสนับสนุนของ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค โดยใช้วิธีการทบทวนอย่างเป็นระบบ (systematic review) และวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) พบว่าการกินผักและผลไม้ที่เพียงพอ ช่วยลดอัตราการตายจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ และยังพบว่าการกินผักเพิ่ม 1 ส่วนต่อวัน ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 10 [1] โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่าใน 1 วัน เราควรกินผักและผลไม้ให้ได้ 5 ส่วน โดยเน้นกินผักมากกว่าผลไม้ เช่น ผัก 3 ส่วน ผลไม้ 2 ส่วน หรือ ผัก 4 ส่วน ผลไม้ 1 ส่วน [2] ผัก 1 ส่วนนั้น สามารถประมาณได้ง่ายๆ คือ ผักสุก 1 ส่วน ประมาณเท่ากับ 1 ทัพพี หรือ 1 กำมือ และผักสด … Read more

ไทยสุข ออกอากาศในรายการ พลังวิทย์คิดเพื่อคนไทย ทางช่อง 9 MCOT HD

ไทยสุข คือ แอปพลิเคชั่นที่ออกแบบขึ้นเพื่อติดตามสุขภาพสำหรับผู้ใช้งานแบบกลุ่ม ผ่านทางโมเดลการแข่งขันแบบออนไลน์ โดยมีผู้นำสุขภาพคอยให้ความรู้ และช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้ใช้งานมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

NSTDA Virtual Challenge (26 เมษายน – 1 มิถุนายน)

แค่ออกกำลังกาย หรือ กินผักผลไม้ ก็ลุ้นรางวัลได้ !! สโมสร สวทช. ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) จัดการแข่งขันสร้างเสริมสุขภาพภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ แค่รวมทีมกันมา จะเลือกออกกำลังกาย หรือ กินผักผลไม้ หรือ ทั้งคู่ก็ได้ มาร่วมสร้างนิสัยที่ดีด้วยกัน และเรายังมีรางวัลให้ทั้งหมด 200 รางวัล รวม 45,000 บาท #แจกรางวัลทุกสัปดาห์ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ง่ายๆ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ThaiSook ไทยสุข จาก App Store หรือ Google Play สร้างกลุ่มในไทยสุข เพื่อร่วมกิจกรรมเป็นทีม ทีมละ 3 คนขึ้นไป ทุกเพศ ทุกวัย จะเป็นเพื่อน หรือคนในครอบครัวก็ได้นะ หัวหน้าทีมต้องเข้าร่วมอบรมสุขภาพดี 1 ครั้ง ผู้เข้าอบรมรับ e-certificate สุขภาพดีทุกคน แค่ทำกิจกรรมที่ชอบและส่งผลกิจกรรมผ่านแอปพลิเคชันไทยสุข ลุ้นรางวัลประจำสัปดาห์ รางวัลละ … Read more

ฟิตหุ่นเฟิร์ม เติมความมั่นใจ กับไทยสุข (24 มกราคม – 15 มีนาคม)

เมื่อการดูเเลสุขภาพระดับองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ “ขอเชิญองค์กรเเละหน่วยงานร่วมกันแข่งขันพิชิตภารกิจหุ่นเฟิร์มกันเเบบยกทีม!!” ในระยะเวลาการแข่งขันเพียง 7 สัปดาห์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านรับสิทธิ์ลุ้นรับของรางวัลมูลค่ารวมกว่า 100,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร “ผู้พิชิตฟิตหุ่นเฟิร์ม” และของที่ระลึกมากมายจากโครงการ กำหนดการช่วงเวลากิจกรรม สิ้นสุดการรับสมัครวันสุดท้าย ในวันอาทิตย์ ที่ 23 มกราคม 2565 เวลา 12.00 กิจกรรมจะจบลงในวันที่ 15 มีนาคม 2565 และ ประกาศผลทีมผู้ชนะในวันที่ 30 มีนาคม 2565 เกณฑ์การตัดสิน 1. ประเภทวัดจาก BMI : ทีมที่มีร้อยละดัชนีมวลกาย(ค่า BMI) ที่ลดลง เฉลี่ยทั้งทีมลดลงมากที่สุด 5 ทีมแรก คือผู้ชนะ โดยเรียงตามตามลำดับจากความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด >> 2. ประเภทน้ำหนัก : ทีมที่มีน้ำหนักตัวรวมทั้งทีมลดลงมากที่สุด 5 ทีมแรก คือผู้ชนะ โดยเรียงตามตามลำดับจากความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด เงื่อนไขสมาชิกที่นำมาประมวลผล จะนับเฉพาะผู้ที่มีค่า BMI ของร่างกาย 25 … Read more

เปิดแอปฯ เช็คสุขภาพ ลดโรค ลดป่วย ช่วยมนุษย์วัยทำงาน

“หากระบบดิจิทัลจะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนได้ มันต้องถูกออกแบบมาอย่างดีเท่านั้น” เป็นหนึ่งในคำอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างแอพพลิเคชั่นมือถือ กับการควบคุมและรักษาโรคไม่ติดต่อ (NCDs) จากการวิจัยพบว่า การที่สถานประกอบการหรือบริษัทขนาดใหญ่ทั่วโลก จะประสบความสำเร็จในการสร้างเสริมสุขภาพของพนักงาน ปัจจุบันต้องอาศัยปัจจัยด้านดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าการมีเพียงแอพพลิเคชั่นด้านสุขภาพมาให้ลูกจ้างในสถานประกอบการได้ใช้งาน จะทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นทันที งานศึกษาของ ดร.เดโช สุรางค์ศรีรัฐ นักวิจัยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้หัวข้อ ‘รายงานการวิจัยทบทวนองค์ความรู้และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระบบข้อมูลและแอปพลิเคชันเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อของสถานประกอบการในระบบการจ้างงาน และระบบประกันสุขภาพ’ พาเราย้อนกลับไปทบทวนทิศทางของการนำสิ่งใหม่อย่างแอพพลิเคชั่นมือถือมาใช้ เพื่อให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพของลูกจ้างในสถานประกอบการ ไปจนถึงคนวัยแรงงานอื่นๆ ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญของแอพพลิเคชั่นสุขภาพที่พัฒนาโดยหน่วยงานรัฐของไทย มีความแตกต่างเป็นอย่างมากกับแอพพลิเคชั่นด้านสุขภาพที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ โดยเฉพาะการออกแบบมาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ใช้ กับขอบเขตเพียงแค่การบริการผู้ใช้งานเท่านั้น อ่านต่อเพิ่มเติม… บทความต้นฉบับ เปิดแอพฯ เช็คสุขภาพลดโรคลดป่วย ช่วยมนุษย์วัยทำงาน, เวบไซต์: waymagazine.org