เทคนิคการปรับความคิดเพื่อสุขภาพที่ดี ด้วยแนวคิด Cognitive Behavioral Therapy (CBT)

เจาะลึกแนวคิด Cognitive Behavioral Therapy (CBT) และวิธีใช้ปรับความคิดที่เป็นอุปสรรคต่อการดูแลสุขภาพ เช่น “ฉันไม่มีเวลาออกกำลังกาย”

ทำความรู้จักกับ PEDs และ PTSD พร้อมวิธีดูแลตัวเอง และคนรอบตัว หลังเจอเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

         จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยล่าสุด เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และอาจจะสร้างผลกระทบทั้งทางกายภาพและจิตใจ แม้ว่าอาคาร และถนนจะได้รับการซ่อมแซม แต่ความรู้สึกหวาดกลัว และความไม่มั่นคงอาจคงอยู่ในใจของผู้ประสบภัย การทำความเข้าใจภาวะทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้น เช่น PEDs (Peri-Traumatic Emotional Distress) และ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) รวมถึงวิธีดูแลตัวเอง และคนรอบข้าง จะช่วยให้เราก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ PEDs และ PTSD คืออะไร ?          PEDs (Peri-Traumatic Emotional Distress) คืออาการความเครียดทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นทันที ระหว่างหรือหลัง จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เช่น แผ่นดินไหว ผู้ที่ได้รับผลกระทบอาจมีอาการดังนี้          – รู้สึกกลัวอย่างรุนแรง สับสน หรือช็อก          – ร้องไห้อย่างควบคุมไม่ได้          – หัวใจเต้นแรง มือสั่น หรือเหงื่อออกมาก          – รู้สึกเหมือนเหตุการณ์ยังคงเกิดขึ้นอยู่          อาการเหล่านี้มักจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป และสามารถบรรเทาได้ด้วยการได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์จากคนรอบข้าง          PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) เป็นภาวะที่อาจเกิดขึ้น เป็นระยะเวลานาน หลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญผ่านไป โดยมักจะมีอาการต่อเนื่องนานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ได้แก่          – … Read more

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ห่างไกลออฟฟิศซินโดรมป้องกันออฟฟิศซินโดรมต้องอาศัยทั้งการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ทำความรู้จักกับ ออฟฟิศซินโดรม

          ในยุคนี้ที่คนทำงานส่วนมากทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์แทบจะทั้งวัน ใครจะคาดคิดว่าพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้จะเป็นต้นเหตุของอาการปวดเรื้อรังที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว มาทำความรู้จัก และปรับพฤติกรรมกันก่อนที่ร่างกายจะพัง ทำความรู้จักกับ ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร ?          ออฟฟิศซินโดรมเป็นอาการที่เกิดจากการนั่งทำงานนาน ๆ โดยไม่มีการขยับตัว หรือเปลี่ยนท่าทางการทำงาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวเรื้อรัง และอาจมีอาการชา ปวด หรืออ่อนแรงร่วมด้วย โดยอาการมักเกิดขึ้นบริเวณ คอ บ่า ไหล่ หลัง แขน และข้อมือ หากปล่อยไว้นานอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ไมเกรน ปวดตา หรือแม้กระทั่งปัญหาทางระบบประสาท การนั่งนาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด          การนั่งโดยไม่ได้ขยับร่างกายเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมาย มีอะไรบ้าง มาดูกัน 1. หากสะสมมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน –> จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด 147% 2. หากสะสมมากกว่า … Read more

ทำความรู้จัก Heart Rate Zone เคล็ด (ไม่) ลับการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ

          Heart Rate Zone คือช่วงระดับการเต้นของหัวใจระหว่างออกกำลังกาย ซึ่งแบ่งตามเปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ (Maximum Heart Rate: MHR) โดยหากเรารู้ค่า MHR จะช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมาย ประเมินความเหมาะสม และเลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะกับตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีคำนวณ อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ (MHR)          สามารถหาค่าได้จากสูตร อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ (MHR) = 220 – อายุ           ตัวอย่าง เช่น หากคุณอายุ 28 ปี → MHR = 220 – 28 = 192 ครั้งต่อนาที          และเมื่อทราบค่าของ MHR แล้ว คุณจะก็จะสามารถแบ่งระดับการออกกำลังกายตามอัตราการเต้นของหัวใจออกเป็น 5 โซนหลัก ได้ดังนี้ โซน 1 Warm-Up Zone (50% ของ MHR)          เป็นการออกกำลังกายเบื้องต้นที่ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต โดยหัวใจเต้นอยู่ที่ 50-60% ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ (MHR) เหมาะสำหรับกิจกรรมเบา … Read more

เริ่มต้นวิ่งอย่างไร ให้สุขภาพดี ไม่บาดเจ็บ

          เนื่องจากในเดือน เมษายน 2568 ทางไทยสุขได้มีกิจกรรมดีๆ อย่างการสะสมระยะวิ่ง ซึ่งจัดเป็นปีที่ 2 แล้ว ในปีที่ผ่านมาผลตอบรับดีมาก แต่ก็ยังมีบางท่านที่ไม่สามารถทำตามเป้าหมายขั้นต่ำของกิจกรรมได้          ในวันนี้เราเลยจะมาแนะนำการเตรียมตัว เตรียมความพร้อมสำหรับกิจกรรมที่กำลังจะจัดขึ้นในอีกไม่ถึงเดือนแล้ว เรามาดูกันว่า มือใหม่ที่อยากเริ่มวิ่งควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ให้ไม่บาดเจ็บ และยังสุขภาพที่ดีด้วย ทำไมต้องเข้าใจเรื่องการวิ่ง?          ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวิ่งกันก่อน แม้ว่าการวิ่งจะดูเป็นกีฬาง่าย ๆ แต่จากงานวิจัยของสมาคมเวชศาสตร์การกีฬาออสเตรเลีย พบว่านักวิ่งกว่า 70% มีอาการบาดเจ็บภายใน 1 ปี และเมื่อเทียบเป็นอัตราการบาดเจ็บต่อ 1,000 ชั่วโมง การวิ่งอยู่ที่ 11% ซึ่งใกล้เคียงกับกีฬาบาสเก็ตบอล หรือสควอชโดยปกติ ถ้าอัตราการบาดเจ็บเกิน 5% ถือว่าสูง กีฬาที่มีการปะทะอย่างรักบี้อยู่ที่ 30% ส่วนการออกกำลังกายทั่วไป เช่น เทนนิส เวทเทรนนิ่ง อยู่ที่ประมาณ 5% และกีฬาหนัก ๆ อย่างยกน้ำหนักหรือครอสฟิตกลับต่ำกว่า 5% เพราะฉะนั้น ถ้าอยากวิ่งให้ปลอดภัย ต้องเรียนรู้และเตรียมตัวให้ดี ! มือใหม่หัดวิ่ง เตรียมตัวยังไงให้ปลอดภัย?          หลังจากเข้าใจพื้นฐานของการวิ่งแล้ว มาดูกันว่าก่อนจะออกวิ่งจริง ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อให้วิ่งได้อย่างปลอดภัย … Read more

ทำความรู้จักกับเพซ (Pace) ตัวเลขสำหรับคนที่เริ่มวิ่ง ควรรู้

          ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ เพซ (Pace) ว่าคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร โดยเพซ คือหน่วยวัดความเร็วในการวิ่ง ที่บ่งบอกเวลาที่ใช้ต่อระยะ 1 กิโลเมตร เช่น เพซ 6 หมายถึง ใช้เวลา 6 นาทีในการวิ่ง 1 กิโลเมตร นั่นเอง ทำไมเราต้องใช้ เพซ (Pace) ทำไมเราไม่ใช้ กิโลเมตรต่อชั่วโมง           การใช้เพซเหมาะกับการวิ่งระยะไกล เพราะสะท้อนความเร็วจริงได้ดีกว่ากิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการวิ่ง อีกทั้งยังเป็นวิธีคำนวณเวลาได้อย่างง่าย เช่น เพซ 6 หมายถึงใช้เวลา 6 นาทีต่อกิโลเมตร นอกจากนี้ เพซช่วยให้นักวิ่งปรับตัวตามสภาพสนาม ตั้งเป้าหมายชัดเจน และใช้เป็นมาตรฐานในหลายการแข่งขันทั่วโลก ทำให้เปรียบเทียบสมรรถภาพ และจัดกลุ่มนักวิ่งได้อย่างเหมาะสม เพซเซอร์ในงานวิ่ง คือใคร ?          หลังจากที่เราเข้าใจความหมายของเพซแล้ว ต่อไปเรามาทำความรู้จักกับ เพซเซอร์ ซึ่งหมายถึงนักวิ่งที่ทำหน้าที่รักษาความเร็วตลอดเส้นทางการแข่งขัน เพื่อช่วยให้นักวิ่งคนอื่น ๆ วิ่งตามเป้าหมายเวลาที่กำหนด ซึ่งมีระยะเวลาหลากหลายแล้วแต่งานวิ่งจะจัด โดยตัวอย่างเช่น นักวิ่งเพซเซอร์ที่ 50 … Read more

งดน้ำตาลแล้วหงุดหงิด จริงหรือคิดไปเอง?

          ทุกท่านเคยรู้สึก หรือเคยเห็นคอนเทนต์ที่อยู่บนช่องทางโซเชียลมีเดียหรือไม่ ที่ว่าลองงดน้ำตาลแป๊บเดียวทำให้เกิดอาการหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ บางคนก็ว่าเป็นแค่จิตใจของเราเอง แต่ก็มีบางคนก็เชื่อว่าน้ำตาลมีผลต่ออารมณ์จริง ๆ แล้วความจริงคืออะไรกันแน่ เราได้รวบรวมข้อมูล และสรุปให้แล้ว มาดูกันว่า งดน้ำตาลแล้วหงุดหงิด จริงหรือคิดไปเอง? ทำไมคนไทยถึงติดหวาน?          ก่อนจะไปหาคำตอบ มาทำความเข้าใจกันก่อน ทำไมคนไทยถึงติดหวานกัน นั่นเป็นเพราะเวลาที่กินของหวาน ไม่ว่าจะน้ำอัดลม ขนม ชานมไข่มุก หรืออื่นๆ หลายคนจะรู้สึกอารมณ์ดี สดชื่น หายเหนื่อย หายเครียด นั่นเป็นเพราะว่าร่างกายได้รับพลังงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งการกินอาหารรสหวานจัด หรือของหวานเป็นประจำ อาจทำให้เกิดอาการติดหวานได้ อาการของคนติดหวาน คือ ชอบกินขนมหวานระหว่างวัน ดื่มเครื่องดื่มรสหวาน และไม่ค่อยดื่มน้ำเปล่า มีอาการหิวบ่อย เวลากินอาหาร หรือเครื่องดื่มจะต้องเติมน้ำตาล หากไม่ได้กินหวาน ก็จะรู้สึกเหนื่อยล้า และหงุดหงิด แล้วทำไมเราถึงต้องงดรสหวาน?          จากเมื่อกี้เราพูดถึง ทำไมคนไทยถึงติดหวานกัน ก็ดูจะเป็นเรื่องที่ดี เป็นการช่วยให้รู้สึกอารมณ์ดี สดชื่น หายเหนื่อย หายเครียด แล้วทำไมเราถึงต้องงดรสหวาน นั่นเป็นเพราะว่าหากเราได้รับน้ำตาลที่มากเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลเชิงเดี่ยว จะเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้กระดูก และฟันไม่แข็งแรง ภาวะเลือดเป็นกรด ความดันเลือดสูง … Read more

Whey Protein กินอย่างไร? ให้คุ้มค่า และได้ผลจริง

          ในบทความก่อน เราได้แนะนำเวย์โปรตีน (Whey Protein) แต่ละประเภท ว่ามีกี่แบบ แตกต่างกันยังไง และแบบไหนเหมาะกับใคร (อ่านบทความ) ในครั้งนี้เราจะมาแนะนำว่า ในครั้งนี้เราจะมาแนะนำว่า เวย์โปรตีน (Whey Protein) กินอย่างไรให้คุ้มค่าและได้ผลจริง! หลายคนอาจจะคิดว่าอยากมีกล้ามเนื้อ หรืออยากลดน้ำหนักแต่ยังคงรักษากล้ามเนื้อเอาไว้ได้ (จากบทความนี้) ยังมีความเข้าใจผิดที่หลายคนคิดว่า แค่กินเวย์โปรตีนก็ช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อ หรือไม่ทำให้อ้วนได้ โดยไม่ต้องออกกำลังกาย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะถ้าร่างกายได้รับพลังงานเกินโดยไม่เผาผลาญออก จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ หากไม่มีเวลาออกกำลังกาย ให้เลือกกินโปรตีนจากอาหารธรรมชาติ เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือถั่วต่าง ๆแทนจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่ ถ้ามีการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เวย์โปรตีนจะเป็นตัวช่วยเสริมที่ทำให้เห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจนขึ้น วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการกินเวย์โปรตีนให้คุ้มค่าและได้ผลจริงกัน! เราควรกินโปรตีนวันละเท่าไหร่ถึงจะพอ?          โปรตีน เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้าง และซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้แข็งแรง จำเป็นต้องมีในทุกมื้ออาหาร ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันกระบวนการ แคทาบอลิซึม (Catabolism) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ใยกล้ามเนื้อถูกทำลายได้โปรตีนไม่ได้มีแค่ในเนื้อสัตว์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ผักใบเขียว ธัญพืช และถั่วต่าง ๆ ทำให้สามารถเลือกบริโภคได้หลากหลายตามความต้องการของร่างกายและไลฟ์สไตล์          โดยปกติหากเป็นคนทั่วไป ที่ไม่ได้ออกกำลังกายควรได้รับโปรตีน 1 กรับ … Read more

ทำความรู้จัก เวย์โปรตีน (Whey Protein) เลือกอย่างไร ให้เหมาะกับตัวคุณที่สุด

          วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเวย์โปรตีนกัน เวย์โปรตีน คือโปรตีนที่สกัดจากนมวัว ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตชีส อุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนที่ร่างกายต้องการ จึงได้รับความนิยมในหมู่นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกาย เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่ร่างกายสามารถดูดซึม และนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนเสริมจากอาหารธรรมชาติ เช่น นม ไข่ไก่ และอกไก่ อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมตามความต้องการของร่างกาย เพราะการได้รับโปรตีนมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ วิธีใช้งาน          โดยทั่วไปแล้วเวย์โปรตีนสามารถนำมาทานในชีวิตประจำวันได้ง่าย โดยผสมเข้ากับเครื่องดื่ม บม หรืออื่น ๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตามเวย์โปรตีนไม่ได้เหมาะสมกับทุกคน หากต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่มากที่สุด ควรพิจารณาดังนี้          ปริมาณที่รับประทาน ปริมาณที่แนะนำขึ้นอยู่กับบุคคล โดยบุคคลทั่วไปรับประทานโปรตีน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อวัน และสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายหนักสามารถรับประทานได้ 2 – 3 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อวัน          ช่วงเวลาที่แนะนำ คือช่วงเวลาก่อนออกกำลังกาย หรือหลังจากออกกำลังกาย 30 – 60 นาที เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการสารอาหารไปหล่อเลี้ยง ทำให้โปรตีนสามารถดูดซึมได้ดี อีกทั้งยังส่งเสริมการเจริญเติบโต และฟื้นฟูกล้ามเนื้ออีกด้วย          ประเภทของเวย์โปรตีน ในท้องตลาดมีโปรตีนหลากหลายประเภท แต่โดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ … Read more