โครงการ PILM – โรงพยาบาลพนมสารคาม โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (มสพช.)

Personalized Intensive Lifestyle Modification/Coaching Program – โรงพยาบาลพนมสารคาม วันที่ : 31 สิงหาคม 2566 สถานที่ : โรงพยาบาลพนมสารคาม ในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา หน่วยงานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (PILM) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการโครงการ “พัฒนาแนวทางการขยายผลกระบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบเข้มข้นจำเพาะคน” ได้ลงพื้นที่โรงพยาบาลพนมสารคาม เพื่อติดตามความคืบหน้าข้อโครงการ และอธิบายการใช้งาน ไทยสุขวอช ThaiSook Watch โดย นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย และทีมงาน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงาน และความคืบหน้าสำหรับโครงการ PILM ประกอบไปด้วย เป้าหมายการพัฒนาสุขภาพ การจัดโปรแกรมการออกกำลัง พฤติกรรมการกิน การออกแบบการกินเพื่อตอบโจทย์สำหรับลูกทีมที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีสุขภาพดีขึ้น และประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ดร.เดโช สุรางค์ศรีรัฐ ได้อธิบายการใช้งานระบบไทยสุข และไทยสุขวอช ThaiSook Watch และแลกเปลี่ยนปัญหาเกี่ยวกับใช้งานแอปพลิเคชัน เพื่อให้หน่วยงานสามารถติดตามกิจกรรมของลูกทีมแต่ละคน และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนจัดการด้านสุขภาพของลูกทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภาพบรรยากาศห้องออกกำลังกายโรงพยาบาลพนมสารคาม

ความแก่คืออะไรทำอย่างไรไม่ให้แก่ ตอนที่ 3 การออกกำลังกายและปัจจัยอื่น ๆ

ThaiSook I 2566 ในสองตอนที่ผ่านมาผมได้เล่าให้ฟังถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแก่และทฤษฎีกระบวนการฮอร์มีซิส (hormesis) ของ ดร.เดวิด ซินแคลร์ (David Sinclair) นักวิจัยด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งบอกว่าในร่างกายเรามีกลไกที่เกี่ยวข้องกับวงจรการอยู่รอดและซ่อมแซมร่างกาย ถ้ามีสิ่งที่ทำให้เกิดความยากลำบากทางชีวภาพแต่ไม่มากเกินไปมากระตุ้น กลไกเหล่านี้ก็จะทำงานช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้ โดยวิธีแรกที่ ดร.เดวิดแนะนำให้ทำเพื่อจะช่วยกระตุ้นการทำงานของกลไกการซ่อมแซมร่างกายดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร คือ กินให้น้อยลง อย่ากินบ่อย และลดปริมาณการกินเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดงแปรรูป รวมถึงให้ลองปรับความคิดใหม่ว่าความหิวบ้างเป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องแย่ และไม่จำเป็นต้องรู้สึกอิ่มตลอดเวลา โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีดัชนีมวลกายมากกว่าค่ามาตรฐาน สำหรับในตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถทำได้เพื่อกระตุ้นกลไกการซ่อมแซมร่างกายและรีไซเคิลเซลล์ เพื่อให้ร่างกายเราแข็งแรงได้ยาวนานขึ้นกันต่อครับ การสร้างความเครียดทางชีวภาพให้แก่ร่างกายอีกรูปแบบโดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรต่อเชลล์ คือ การออกกำลังกายเป็นที่รู้กันดีว่าออกกำลังกายเป็นสิ่งดี และที่ผ่านมามีงานวิจัยจำนวนมากพยายามหาเหตุผลอธิบายว่าทำไมการออกกำลังกายถึงดีกับร่างกายของเรา ซึ่งเคยเชื่อกันว่า การออกกำลังกายจะช่วยกำจัดไขมันสะสมที่จับตามผนังหลอดเลือด (plaque) เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้น แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าอาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้นที่รู้แน่ชัดอย่างเดียวก็คือการออกกำลังกายทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นแน่นอนจากกล้ามเนื้อที่หนาและแข็งแรงขึ้น ซึ่งดีต่อสุขภาพปอดและหัวใจ ดร.เดวิดเชื่อว่าประโยชน์ที่สำคัญของการออกกำลังกายมาจากกลไกระดับเชลล์ การออกกำลังกายจะสร้างความเครียดให้แก่ร่างกาย โดยเพิ่มระดับนิโคตินาไมด์อะดีนีนไดนิวคลีโอโทด์ (nicotinamide adenine dinucleotide: NAD) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในปฏิกิริยาทางเคมีมากกว่า 500 อย่าง และเป็นสารสำคัญในการกระตุ้นกลไกจากกลุ่มยีนเซอร์ทูอิน กระตุ้นการผลิตพลังงาน และบังคับให้กล้ามเนื้อสร้างหลอดเลือดฝอยสำหรับลำเลียงออกซิเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนทำให้กลไกที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดและซ่อมแซมร่างกาย ทั้งเซอร์ทูอิน, … Read more

โครงการ PILM – บึงยี่โถ โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (มสพช.)

Personalized Intensive Lifestyle Modification/Coaching Program – บึงยี่โถ วันที่ : 29 สิงหาคม 2566 สถานที่ : ศูนย์การแพทย์และฟื้นฟูบึงยี่โถ เทศบาลเมืองบึงยี่โถ จ.ปทุมธานี ในวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา หน่วยงานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (PILM) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการโครงการ “พัฒนาแนวทางการขยายผลกระบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบเข้มข้นจำเพาะคน” ได้ลงพื้นที่ศูนย์การแพทย์และฟื้นฟูบึงยี่โถ เพื่อติดตามความคืบหน้าข้อโครงการ และอธิบายการใช้งาน ไทยสุขวอช ThaiSook Watch โดย นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย และทีมงาน ได้ชี้แจงเป้าหมายโครงการ และให้คำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหา ประกอบไปด้วย การตั้งเป้าหมายสำหรับลูกทีม ด้านการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อให้โค้ชหรือหน่วยงานที่ดูแลสามารถนำไปปรับเปลี่ยนการตั้งเป้าหมายสำหรับลูกทีมให้เหมาะสม และชัดเจนยิ่งขึ้นในการสร้างสุขภาพที่ดี เพิ่มประสิทธิภาพในทุกด้านของลูกทีมในอนาคต ดร.เดโช สุรางค์ศรีรัฐ ได้อธิบายการใช้งานระบบไทยสุข และไทยสุขวอช ThaiSook Watch และแลกเปลี่ยนปัญหาเกี่ยวกับใช้งานแอปพลิเคชัน เพื่อให้หน่วยงานสามารถติดตามกิจกรรมของลูกทีมแต่ละคน และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนจัดการด้านสุขภาพของลูกทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ … Read more

ไทยสุขวอช ThaiSook Watch 1.0

พร้อมใช้งานแล้ว ไทยสุขวอช ThaiSook Watch นาฬิกาสำหรับการออกกำลังกาย สะดวกสบายสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันไทยสุข Thaisook ได้ง่าย ๆ ไทยสุขวอช ThaiSook Watch ออกแบบให้สามารถใช้งานได้ง่าย สามารถตรวจจับก้าวเดิน บันทึกกิจกรรมการออกกำลังกาย บันทึกการนอนแบบอัตโนมัติ แจ้งเตือนให้ขยับตัว วัดอัตราการเต้นหัวใจ, ออกซิเจนในเลือด, อุณหภูมิที่ผิวหนัง โดยเชื่อมต่อข้อมูลกับแอปพลิเคชันไทยสุข เพื่อให้ผู้ดูแล หรือโค้ชสุขภาพ สามารถดูข้อมูลของลูกทีมทั้งกลุ่ม ในภาพรวมได้สะดวก การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน   ไทยสุขวอช ThaiSook Watch เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันไทยสุข Thaisook ผ่านทางบลูทูธ โดยตรง ใช้งานง่าย นอกจากนั้น ผู้ดูแลหรือโค้ชสุขภาพ ยังสามารถใช้ระบบไทยสุขในการดูแลลูกทีมแบบกลุ่ม และสามารถนำข้อมูลออกเพื่อทำการวิจัยต่อไป เหมาะกับการใช้งานในโครงการสุขภาพต่าง ๆ คู่มือการใช้ ไทยสุขวอช ปัจจุบันมีการใช้งานในโครงการแล้ว มากกว่าหนึ่งพันเครื่อง หน่วยงานที่ใช้ ไทยสุขวอช ในโครงการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน – มสพช. คณะแพทยศาสตร์ กรุงเทพธนบุรี

สาเหตุที่ทำให้เกิด “โรคอ้วน” คืออะไร?

ThaiSook I 2566 การรับประทานอาหารในชีวิตประจำของคนเรามักจะมีประกอบไปด้วย อาหารประเภทแป้งและโปรตีน เมื่อเรารับประทานอาหารเหล่านี้เป็นจำนวนมากจะทำให้ปริมาณพลังงานที่ได้รับมากเกินความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะเริ่มสะสมอาหารเหล่านี้ในรูปของไขมัน ยิ่งเกิดการสะสมเป็นเวลานานอาจจะกลายเป็นโรคอ้วนได้ การควบคุมปริมาณพลังงานที่บริโภคเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของร่างกาย เพื่อไม่ให้มีการสะสมไขมันเกิดขึ้นเยอะเกินจนเป็นโรคอ้วน ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักและป้องกันโรคอ้วนก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง เนื่องจากโรคนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอื่นๆ ได้ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้ โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุมาจาก สภาพพันธุกรรม พฤติกรรมทางสุขภาพ โรคทางการแพทย์ ปัจจัยจิตวิทยา: สภาพแวดล้อม: อ้างอิง ThaiSook I 2566

โครงการเกษมใจ กับวัยเกษียณ โดย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

โครงการเกษมใจ กับวัยเกษียณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ในวันที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 8.00 – 12.00 น. ทีมงานคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จัดกิจกรรมการตรวจสุขภาพ เจาะเลือด และเรียนรู้วิธีใช้นาฬิกาติดตามสุขภาพ ให้แก่ผู้สูงอายุ ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เกษมใจ กับวัยเกษียณ” ที่มุ่งหวังที่จะสร้างสังคมที่เข้มแข็งและส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในชุมชน กิจกรรมนี้จะเริ่มต้นด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของการดูแลสุขภาพในช่วงวัยที่สูงขึ้น และวิธีการใช้นาฬิกา ไทยสุขวอช ในการติดตามกิจกรรมรายวัน เช่น จำนวนก้าวที่เดิน หรือเวลาการนอน และมีการตรวจสมรรถภาพทางกาย มีการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และวัดค่าดัชนีต่าง ๆ เช่น Body Mass Index (BMI), Hand Grip test, Time Up and Go และ Two-Step test มีเป้าหมายในการเก็บข้อมูลสมรรถภาพร่างกายของผู้เข้าร่วมก่อนเริ่มโครงการ เพื่อนำไปวิจัยและเปรียบเทียบหลังจากจบโครงการ พล.อ.ท.นพ. … Read more

NSTDA PILM Challenge (23 ส.ค. – 17 ต.ค.)

แพลตฟอร์มส่งเสริมสุขภาพ ลดความเสี่ยงการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไทยสุข ได้จัดกิจกรรม ”NSTDA PILM Challenge” ขึ้น เพื่อเป็นการแข่งขันออกกำลังกายสำหรับผู้ที่ต้องการมีสุขภาพที่ดี ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ด้านอาหาร การออกกำลังกาย โดยใช้แอปพลิเคชันไทยสุข เพียงแค่ออกกำลังกาย กับ กินผักผลไม้ ก็ลุ้นรางวัลได้ !! โดยได้แบ่งกิจกรรมการแข่งขันเป็นหลากหลายประเภท เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมตามความสามารถและความสนใจของตนเองได้ 📅 ระยะเวลาการแข่งขัน : 23 สิงหาคม – 17 ตุลาคม 2566 🎖️ รางวัล : 🥇 ThaiSook Watch (3 รางวัล) : โดยสุ่มรางวัลจากผู้ที่ออกกำลังกายเฉลี่ยมากกว่าสัปดาห์ละ 150 นาที และกินผักผลไม้เฉลี่ยมากกว่าวันละ 5 ส่วน 🥇 เสื้อยืดไทยสุขรุ่นใหม่ (50 รางวัล) : โดยสุ่มรางวัลจากผู้ที่ผ่านเกณฑ์ ดังนี้ 🥈 คะแนนเฉลี่ย สัปดาห์ละ 50 … Read more

โครงการเดินนับก้าวภารกิจพิชิตใจห่างไกล NCDs -คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ (1 ต.ค. – 1 ธ.ค.)

ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) จัดการแข่งขันสร้างเสริมสุขภาพในโครงการ “เดินนับก้าวภารกิจพิชิตใจห่างไกล NCDs” เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรศูนย์การแพทย์ฯ ได้ออกกำลังกาย และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น ระยะเวลาการแข่งขัน : 1 ตุลาคม – 1 ธันวาคม 2566 📍การใช้งานแอปพลิเคชันไทยสุข ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ThaiSook ไทยสุข จาก App Store หรือ Google Play สร้างกลุ่มในแอปพลิเคชันไทยสุข เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม เข้าร่วมการโครงการในแอปพลิเคชันไทยสุข บันทึกกิจกรรมลงบนแอปพลิเคชันไทยสุข 📍รายละเอียด:  การกำหนดคะแนนในแต่ละกิจกรรม 1.สมัครเข้าโครงการ ตรวจวัดค่าเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานของผ็สมัคร (ทุกท่านได้รับคะแนน 50 คะแนนเท่ากัน) (เริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 1 ธันวาคม 2566) โดยโปรแกรมไทยสุข – ค่าดัชนีมวลกาย 2.การติดตามสุขภาพ กลุ่ม BMI 18 – 25ออกกำลังกาย มากสุด … Read more

อันตรายจากการกินน้ำตาลมากเกินไป

ThaiSook I 2566 คุณรู้หรือไม่ ว่าการกินน้ำตาลมากเกินไปนั้นส่งผลเสียต่อคุณ? แต่อาหารที่มีน้ำตาลมักจะอร่อย ไม่ว่าจะเป็น เบเกอรีต่างๆ ชานนไข่มุก กาแฟ หรือแม้แต่อาหารที่เรามักจะเติมน้ำตาลเพื่อเพิ่มความอร่อย จนไม่รู้เลยว่านั้นเป็นการเติมน้ำตาลมากจนเกินไป และมองว่าเป็นการกินที่ปกติ จนทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมการกินที่ติดหวาน จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลเชิงเดี่ยว ซึ่งเป็นน้ำตาลที่เข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้เลือดมีสภาวะเป็นกรดมากเกินไป จนร่างกายเกิดความไม่สมดุล และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่างๆ ตามอีกมากมาย กินน้ำตาลมากเกินไป เกิดโทษต่อร่างกายอย่างไรบ้าง การบริโภคน้ำตาลมากๆ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในหลายด้าน เช่น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, การอ้วน และมีผลต่อระบบทางทันตกรรมและกระดูก นอกจากนี้ยังสามารถเป็นสาเหตุของภาวะเลือดเป็นกรด, ความดันเลือดสูง, ความเครียด, และการเกิดโรคร้ายต่างๆ นำมาซึ่งผลกระทบที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ การรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสมและควบคุมอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพที่ดี การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปอาจเกิดผลเสีย ดังนี้ การควบคุมการบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม ลดการเติมน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการรับประทานน้ำตาลจากแหล่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ผลไม้ เพื่อรักษาสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ อ้างอิง ThaiSook I 2566

กินอาหารอะไร ก่อน ระหว่าง และหลังออกกำลัง

ThaiSook I 2566      ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับการออกกำลังกายอย่างมาก แต่ความสำคัญของโภชนาการในการรับประทานอาหารก็ไม่ควรละเลยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายหนัก หรือเบา ก็ควรคำนึงถึงโภชนาการอาหาร หากขาดสารอาหารหรือได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการออกกำลังกาย ทำให้การเผาผลาญพลังงานลดลง และอาจทำให้เกิดอาการล้าหรือหน้ามืดเป็นลมได้ ดังนั้น ดังนั้นแอดมินจะมาแนะนำเกี่ยวกับการกินอาหารในสามช่วงการออกกำลังกายคือ ก่อน ระหว่าง และหลังเพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้กัน ก่อนออกกำลังกาย      ก่อนออกกำลังกายควรเลือกกินอาหารที่มีสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตสูง โปรตีนปานกลาง แต่ไขมันต่ำ  เพราะคาร์โบไฮเดรตสามารถย่อย และนำมาเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว อาหารที่ควรเลือกกินก่อนออกกำลังกาย เช่น กล้วย แอปเปิล ขนมปังโฮลวีต เป็นต้น และควรรับประทานก่อนออกกำลังกาย 3-4 ชั่วโมง การรับประทานก่อนออกกำลังกายยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ ป้องกันกล้ามเนื้อฉีก และทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น      สำหรับโปรตีนและไขมันนั้น ต้องใช้พลังงานบางส่วนในการย่อยและดูดซึม ซึ่งใช้เวลามาก หากคุณกินอาหารมากเกินไปก่อนออกกำลังกาย อาจทำให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพลดลง อ่อนเพลีย หรือท้องไส้ปั่นป่วน และอีกสิ่งหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยง คือการรับประทานผักมากๆ ก่อนออกกำลังกาย เพราะเส้นใยอาหารในผักจะช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึม จะทำให้ประสิทธิภาพการกีฬาลดลงอีกด้วย ระหว่างออกกำลังกาย      ไม่ควรรับประทานอะไร เพราะจะทำให้เกิดอาการจุกท้องหรือปวดท้อง แค่จิบน้ำบ้างเป็นครั้งคราวก็พอแล้ว หลังออกกำลังกาย      พักเหนื่อยสักพัก ถ้ารู้สึกหิวในช่วงระหว่าง 1 … Read more