กินเค็ม ทำให้อ้วนจริงหรือ

ThaiSook I 2566 โซเดียมไม่ได้ทำให้อ้วนโดยตรง แต่การบริโภคโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพในรูปแบบต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ โซเดียมเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเกลือโซเดียมคลอไรด์ซึ่งมีปริมาณสูงในอาหารธรรมดาหลายอย่าง เช่น อาหารเค็ม อาหารแปรรูป เครื่องดื่มที่หวาน และอาหารแบบอื่นๆ โดยการบริโภคโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดการสะสมของน้ำในร่างกาย ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โซเดียม คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็ก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเค็มด้วยวิธี 1) ปรับการปรุงอาหาร โดยปกติการปรุงอาหาร มักจะใช้เครื่องปรุงหลากหลายชนิดเพื่อความอร่อยและกลมกล่อม ทั้งนี้ เครื่องปรุงแต่ละชนิดมีปริมาณโซเดียมที่แตกต่างกัน เมื่อเทียบปริมาณโซเดียม ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุง (ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ) แต่การปรุงอาหารในแต่ละครั้ง จะใส่เครื่องปรุงรส มากกว่า 1 ชนิด และอาหารบางชนิดอาจมีการเติมเครื่องปรุงรสต่างๆ เพิ่มเติม ซึ่งอาจส่งผลให้ได้รับปริมาณโซเดียมในแต่ละวันเกินได้ ดังนั้น ควรชิมก่อนปรุง ลดการเติมเครื่องปรุงรสทุกอย่าง รวมถึงน้ำจิ้ม หรือซอสต่างๆ หลีกเลี่ยงการกินน้ำซุป หรือกินน้อยลง เป็นต้น 2) อ่านฉลากโภชนาการ ด้วยการสังเกตปริมาณโซเดียมบนบรรจุภัณฑ์ ทั้งแบบที่เป็นฉลาก … Read more

ผักผลไม้ไฟเบอร์สูง

ThaiSook I 2566 “ไฟเบอร์” หรือ “กากใยอาหาร” (Dietary fiber) คือส่วนประกอบของพืชที่เป็นเส้นใย และเอนไซม์ในร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ไม่มีสารอาหารและไม่มีพลังงาน แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ เช่น ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ พบได้มากในผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืช ดังนั้น เส้นใยอาหารจึงเป็นส่วนสำคัญของอาหารสำหรับคนที่ต้องการสุขภาพที่ดีในปัจจุบัน ใยอาหาร สามารถแบ่งเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำ (soluble fiber) และไม่ละลายน้ำ (insoluble fiber) ผักผลไม้อะไรให้ไฟเบอร์สูง ประโยชน์ของไฟเบอร์ ไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบของพืชที่พบได้ในธัญพืช,ผัก,ผลไม้ และถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ช่วยในการขับถ่ายของเสียอย่างง่ายดาย ลดการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการติดเชื้อ และโรคร้ายต่างๆ รวมถึงช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด นอกจากนี้ ยังช่วยในการควบคุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ เช่น มะเร็งลำไส้ ฯลฯ ดังนั้นการบริโภคผักผลไม้เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการรักษาสุขภาพของเรา และช่วยป้องกันการเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิง

การออกกำลังกายแบบแรงต้าน (Resistance Training) คืออะไร

ThaiSook I 2566 การออกกำลังกายแบบแรงต้าน (Resistance Training) คือ การออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักหรือเครื่องมือช่วย เพื่อสร้างความแข็งแรงและเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบแรงต้านจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และยังช่วยเสริมสร้างกระดูกและข้อต่อให้แข็งแรงด้วย ตรงข้ามกับความเชื่อที่ว่า ผู้หญิงออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ แล้วจะยิ่งดูบึก ตัวใหญ่ ไม่สวย การมีปริมาณกล้ามเนื้อมากขึ้นจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ต่อวันมากขึ้น ทำให้หากกินปริมาณเท่าเดิม จะมีแนวโน้มที่น้ำหนักลดลง และร่างกายดูสมส่วนมากขึ้น นอกจากนั้นปริมาณฮอร์โมนตามธรรมชาติของเพศหญิงจะไม่ทำให้เกิดเป็นกล้ามเหมือนนักกล้ามได้ง่ายนัก และการจะมีหุ่นแบบนักกล้ามที่ประกวดกันนั้น คงต้องออกกำลังกายอย่างหนักวันละหลายชั่วโมง และวางแผนการออกกำลัง ผักผ่อนให้เหมาะสม ถึงสามารถสร้างกล้ามเนื้อขนาดนั้นได้ ซึ่งไม่ง่ายนัก ดังนั้นวิธีการที่จะลดน้ำหนักได้ดีที่สุด ไม่ว่าสำหรับผู้ชาย หรือผู้หญิง ก็คือการสร้างกล้ามเนื้อนั่นเอง การออกกำลังกายแบบแรงต้าน มีอะไรบ้าง? บอดี้เวท (Body Weight) ซิทอัพ สควอท วิดพื้น ยกขา และแพลงก์ คือตัวอย่างทั้งหมดของการฝึกแบบแรงต้านด้วยบอดี้เวท ข้อดีของการออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงประเภทนี้สามารถเล่นคนเดียวได้ และใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยในการออกกำลังกาย ยางยืดออกกำลังกาย (Resistance Band) ใช้สำหรับฝึกกล้ามเนื้อโดยอาศัยการใช้แรงต้านจากยางยืด เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาไม่แพง น้ำหนักเบา ขนาดเล็ก และพกพาสามารถใช้งานได้ทุกที่ เหมาะกับผู้เล่นทุกระดับไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ที่ไม่มีประสบการณ์จนถึงขั้นแอดวานซ์ สามารถออกกำลังกายได้หลายส่วน และช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่มีขนาดเล็กได้ … Read more

ประชุมวิชาการ “เสริมพลังกาย สร้างพลังความรู้ สู่สุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการอย่างมีส่วนร่วม (Healthy Living)”

ประชุมวิชาการ “เสริมพลังกาย สร้างพลังความรู้ สู่สุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการอย่างมีส่วนร่วม (Healthy Living)” วันที่ 20-21 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 – 17.00 น. ที่ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น โครงการขับเคลื่อนสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการอย่างมีส่วนร่วม (Healthy Living)ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ เป็นการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ (Wellness Center) เป็นการขับเคลื่อนผ่านผู้นำสุขภาพ (Health Leader) และเจ้าของสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ และได้รับการสนับสนุนจากสถานพยาบาลพี่เลี้ยงทั้งภาครัฐ และเอกชน 14 แห่ง ด้วยเครื่องมือสุขภาพเชิงบูรณาการ เพื่อให้เกิดเป็นองค์กรสุขภาวะต้นแบบอย่างมีส่วนร่วม (Healthy Living)อย่างยั่งยืน และเกิดมีนวัตกรรมใหม่ในสถานประกอบการ ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ไทยสุขได้รับเชิญเข้าร่วมจัดบูธตรวจสุขภาพและการใช้งานแอปพลิเคชันไทยสุข โดยได้นำเครื่องตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้น หรือ NSTDA Kiosk … Read more

ความแก่คืออะไร ทำอย่างไรไม่ให้แก่  ตอนที่ 1

ThaiSook I 2566 ความแก่คืออะไร ทำอย่างไรไม่ให้แก่  ตอนที่ 1 เป็นเรื่องที่ทุกคนยอมรับกันตามธรรมชาติว่าเมื่อเวลาผ่านไปก็ย่อมต้องแก่ชราลงโดยไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ เราเข้าใจกันว่าเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นระบบร่างกายต่าง ๆ ก็จะต้องเสื่อมลงไปด้วย แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมถึงเป็นแบบนั้น และในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ความแก่คืออะไร ?  นักวิทยาศาสตร์พยายามวิจัยเพื่อหาสาเหตุของความแก่ชรามาเป็นเวลานาน ซึ่งก็ยังไม่มีใครระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่จากความก้าวหน้าของงานวิจัย ในปัจจุบันทำให้เราเข้าใจว่าความแก่ชราและโรคที่มาพร้อมกันนั้นมีลักษณะจำเพาะหลายอย่าง โดยที่ยอมรับกันมีอยู่  8-9 ปัจจัย เช่น ดีเอ็นเอถูกทำลายทำให้จีโนมขาดเสถียรภาพ  การสึกกร่อนของปลอกหุ้มโครโมโซม (เทโลเมียร์) การสะสมของเซลล์เสื่อมสภาพจนทำให้เซลล์เกิดการอักเสบ อย่างไรก็ตาม ดร.เดวิด ซินแคลร์ (David Sinclair) นักวิทยาศาสตร์ด้านพันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ผู้มีการตีพิมพ์งานวิจัยมากกว่า 170 เรื่อง มีสิทธิบัตรมากกว่า 50 ฉบับ และเป็นนักวิจัยด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยที่มีชื่อเสียงอันดับต้น ๆ ของโลก เชื่อว่าความแก่ชรามีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจากการขาดหายไปของข้อมูลในร่างกายของเรา เมื่อพูดถึงข้อมูลในร่างกายของเรา ทุกคนอาจจะนึกถึงข้อมูลทางพันธุกรรมในดีเอ็นเอ (DNA) หรือรหัสพันธุกรรมที่เข้ารหัสด้วยคู่เบส A, T, C และ G … Read more

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย

ThaiSook I 2566 การทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการประเมินสุขภาพ และความสามารถทางร่างกายของแต่ละคน จะวัดได้จากการทดสอบสมรรถภาพในด้านต่างๆ เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทน ความยืดหยุ่น ความว่องไว และสภาพร่างกายโดยรวมของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังสามารถประเมินระดับสมรรถภาพปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้พัฒนาแผนการออกกำลังกาย และกำหนดเป้าหมายการออกกำลังกายได้ การทดสอบสมรรถภาพทางกาย จากการประชุมคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การกีฬา และการออกกำลังกาย 24 ท่าน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ได้สรุปรูปแบบการทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนไทย ดังนี้ อ้างอิง: เอกสารประกอบการอบรมเพื่อเติมเต็มศักยภาพฯ ภายใต้โครงการพัฒนาแนวทางการขยายผลกระบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบเข้มข้นจำเพาะคน โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน วันที่ 11 -13 มกราคม 2566 ThaiSook I 2566

“โปรตีน” สารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ

ThaiSook I 2566 โปรตีน คือ สารอาหารหลักที่มีความจำเป็นมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แหล่งของโปรตีนจะอยู่ในอาหารจำพวก เนื้อ นม ไข่ และถั่ว ที่อยู่ในอาหารที่กินในแต่ละวัน โดยสิ่งสำคัญที่ร่างกายคนต้องการคือโมเลกุลขนาดเล็ก ที่เรียกว่า “กรดอะมิโน” ที่ประกอบเป็นโปรตีน มีหน้าที่มาช่วยซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายเราต้องการในแต่ละวันกี่กรัมถึงจะเพียงพอ? ปริมาณโปรตีนที่เราควรได้รับในแต่ละวันจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ระดับกิจกรรมที่ทำและสุขภาพโดยรวมของบุคคลนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว คำแนะนำสำหรับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับคนทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 0.8-1 กรัมต่อกิโลแคลอรี (g/kg) ต่อวัน ดังนั้น หากคุณมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม คุณควรได้รับปริมาณโปรตีนประมาณ 48-60 กรัมต่อวัน แต่อาจมีการปรับขึ้นลงได้ตามสถานการณ์ และความต้องการของแต่ละบุคคล โดยสามารถเพิ่มปริมาณโปรตีนในอาหารโดยการบริโภคอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว เนยถั่ว ไข่ม้วน หรือโปรตีนผงโดยตรง ประโยชน์ของโปรตีน การบริโภคโปรตีนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยให้ลดน้ำหนักได้โดยตรง แต่โปรตีนสามารถช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อซึ่งจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งอาจจะช่วยลดน้ำหนักได้ในระยะยาว แต่ต้องร่วมกับการออกกำลังกายและการบริหารจัดการอาหารให้เหมาะสมด้วย … Read more

กิจกรรม NSTDA PILM ณ ห้องฟิตเนส อาคารสราญวิทย์ สวทช.

17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องฟิตเนส อาคารสราญวิทย์ สวทช. ภาพบรรยากาศการเปิดตัวกิจกรรม ” NSTDA PILM ” ซึ่งเป็นโครงการโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (มสพช.) ร่วมกับศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดลองการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการโค้ชแบบไฮบริด เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร การออกกำลังกาย โดยใช้แอปพลิเคชันไทยสุขในการสื่อสาร ติดตาม และเก็บข้อมูล โดยมีโค้ชค่อยให้คำปรึกษา ออกแบบการกิน และการออกกำลังกายให้รายบุคคลตลอดระยะเวลา 6 เดือน โดยในกิจกรรมนำร่องนี้ สวทช. มีโค้ชทั้ง 5 ท่าน ที่มาร่วมดูแลสุขภาพ วางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่าน คือ คุณรัฐภูมิ นิราศวรรณ (โค้ชเบนซ์) ACE Certified Personal Trainer , ดร.พสุ สิริสาลี (โค้ชน็อต) FJ LV1 Certified Trainer , … Read more

WEIGHT TRAINING (เวทเทรนนิ่ง)

ThaiSook I 2566 การเวทเทรนนิ่ง คือการฝึกด้วยน้ำหนักหรือที่เรียกว่าการฝึกความแข็งแรงหรือการฝึกด้วยแรงต้านเป็นการออกกำลังกายประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำหนักหรือแรงต้านเพื่อสร้างและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้านสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้เครื่องมือ เช่น การใช้เครื่องมือ ได้แก่ ดัมเบล บาร์เบล และเครื่องมือที่มีน้ำหนักอื่นๆ ในระหว่างการฝึกด้วยน้ำหนัก กล้ามเนื้อจะหดตัวซ้ำๆ ต่อแรงต้าน ซึ่งทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อเสียหายในระดับจุลภาค ความเสียหายนี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อปรับตัวและแข็งแรงขึ้นในระหว่างกระบวนการฟื้นตัว ส่งผลให้กล้ามเนื้อมี ความแข็งแรง และความทนทานขึ้น การฝึกแบบเวทเทรนนิ่ง สามารถให้ประโยชน์มากมายนอกเหนือจากการสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรง รวมถึงความหนาแน่นของกระดูกที่ดีขึ้น เพิ่มการเผาผลาญ และสุขภาพโดยรวมและสมรรถภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับอายุ และลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน ข้อแนะนำในการฝึกเวทเทรนนิ่ง จาด สสส.       ข้อแนะนำสำหรับการฝึกเวทเทรนนิ่ง ดังนี้ 1. อบอุ่นร่างกาย (warm up) ด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 10-15 นาที เพื่อเตรียมร่างกาย 2. ฝึกช้าๆ ด้วยอุปกรณ์น้ำหนักเบาในช่วงเริ่มต้น และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการฝึก 3. … Read more

โครงการขับเคลื่อนสุขภาวะคนทำงานในสถานในสถานประกอบการอย่างมีส่วนร่วม (Healthy Living)

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การขับเคลื่อนศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานอย่างยั่งยืนด้วยพลังของสถานพยาบาลพี่เลี้ยงในและเครือข่ายผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ วันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ & คอนเวนชั่น โครงการขับเคลื่อนสุขภาวะคนทำงานในสถานในสถานประกอบการอย่างมีส่วนร่วม (Healthy Living) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางปฏิบัติการเสริมสร้างสุขภาวะของคนทำงานในสถานประกอบการ โดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือสุขภาพเชิงบูรณาการ 4 เครื่องมือ เพื่อให้เป็นนวัตกรรมของการเสริมสร้างสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ ประกอบไปด้วย Wellness Center ของกรมควบคุมโรค, 10 package ของกรมอนามัย, การตรวจสุขภาพ 14 รายการของสำนักงานประกันสังคม และ Mobile application ด้านการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต ของ Start Up กลุ่ม Telemedicine เครื่องมือเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานประกอบการในพื้นที่ศึกษา เพื่อครอบคลุมปัญหาและความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ควรได้รับการประเมินและเฝ้าระวัง รวมทั้งสามารถปรับปรุงให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในสถานการณ์สุขภาพต่างๆ โดยมีการติดตามสุขภาวะของคนทำงานในสถานประกอบการในรอบเวลาที่เหมาะสม เพื่อประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมดังกล่าวให้สามารถต่อยอดการพัฒนาเป็นอัตลักษณ์ของสถานประกอบการสุขภาวะดี และพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมายของโครงการ Healthy Living ประกอบไปด้วย สถานประกอบการในประเทศไทยที่เป็นสมาชิกหอการค้าไทย จำนวน 300 แห่ง แบ่งออกเป็น 1) … Read more