ทำความรู้จักไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) อันตรายกว่าที่คุณคิด

          วันนี้เราจะมีทำความรู้จักกับไขมันในช่องท้อง หรือ Visceral Fat คือ ภาวะไขมันที่เกิดจากการสะสมไขมันไว้ในร่างกายเกินกว่าที่จะเผาพลาญได้ในแต่ละวัน ซึ่งในส่วนใหญ่แล้วมาจากการรับประทานอาหารประเภทไขมัน คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ร่างกายจะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลส่วนเกินให้เป็นไขมัน ก่อนสะสมไว้ในอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง เมื่อเวลาผ่านไป ไขมันเหล่านี้จะเกิดการแข็งตัวมากขึ้น ส่งผลให้หน้าท้องยื่นออกมาอย่างชัดเจน           นอกจากการรับประทานอาหารเกินความจำเป็นแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของภาวะไขมันในช่องท้องสูง คือการขาดการออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยเกินไปในแต่ละวัน แต่ในบางกรณีผู้ที่รับประทานอาหารน้อยอยู่แล้ว และยังพบว่ามีไขมันในช่องที่สูงอยู่ อาจจะเป็นเพราะปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น พันธุกรรม หรือการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน ความเสี่ยงจากไขมันในช่องท้อง           การมีไขมันในช่องท้องมากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง เช่น ไขมันพอกอวัยวะ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และไขมันในช่องท้องยังสัมพันธ์กับ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ วิธีลดไขมันในช่องท้อง          หากต้องการลดไขมันในช่องท้อง สิ่งที่ควรทำคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยควรผสมผสานการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio) และเวทเทรนนิ่ง (Strength Training) นอกจากนี้ ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยลดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูงและอาหารแปรรูป หันมาเน้นอาหารโปรตีนลีน ผัก ผลไม้ และคาร์โบไฮเดรตที่ดี เช่น … Read more

เปลี่ยนชีวิตง่าย ๆ เพื่อสุขภาพดีที่ยั่งยืน

การมีสุขภาพที่ดีไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแค่เราเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถทำให้สุขภาพดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน และนี่คือเคล็ดลับง่าย ๆ พร้อมตัวอย่างที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ทันที 1. การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 2. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ 3. การพักผ่อนอย่างเพียงพอ 4. การลดความเครียด 5. การดื่มน้ำให้เพียงพอ 6. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง สุขภาพดีเริ่มต้นจากตัวเราเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อยในแต่ละวัน จะช่วยให้คุณมีสุขภาพดีในระยะยาว ลองเริ่มต้นจากวันนี้แล้วคุณจะรู้ว่า “สุขภาพดีไม่ใช่เรื่องยาก” อ้างอิง

เคล็ดลับการเลือกกิน ‘แป้ง’ เพื่อหุ่นดีและสุขภาพที่ดี

แป้งเป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อพลังงานที่ร่างกายต้องการ แต่หลายคนอาจกลัวการกินแป้งเพราะเชื่อว่าจะทำให้อ้วน ความเชื่อนี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไป หากเราเลือกแป้งที่เหมาะสมและกินในปริมาณที่พอดี แป้งจะไม่เป็นศัตรูกับน้ำหนักตัวของเรา แต่จะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญซึ่งช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ แป้งสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่ แป้งเชิงซ้อนและแป้งขัดขาว แป้งเชิงซ้อนเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะย่อยช้ากว่าและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ ตัวอย่างของแป้งเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต มันหวาน และธัญพืชเต็มเมล็ด การกินแป้งเชิงซ้อนช่วยให้อิ่มนาน ลดความอยากอาหาร และช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดีกว่า ในทางกลับกัน แป้งขัดขาว เช่น ข้าวขาวและขนมปังขาว มักถูกขัดเอาสารอาหารที่มีประโยชน์ออกไป การกินแป้งขัดขาวในปริมาณมากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง ส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันได้ง่าย อีกหนึ่งวิธีในการกินแป้งให้เหมาะสมคือการควบคุมปริมาณ ควรกินแป้งในสัดส่วนที่เหมาะสมในแต่ละมื้ออาหาร เช่น ให้แป้งอยู่ที่ประมาณหนึ่งในสี่ของจาน และมีโปรตีนและผักเป็นส่วนประกอบหลัก การผสมแป้งกับโปรตีนและไฟเบอร์ เช่น การกินข้าวกล้องกับไก่ย่าง หรือมันหวานกับถั่ว จะช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล ลดการสะสมไขมัน และทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น นอกจากนี้ การเลือกแป้งจากธรรมชาติ เช่น มันเทศ เผือก และฟักทอง เป็นทางเลือกที่ดี เพราะนอกจากจะให้พลังงานแล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การหลีกเลี่ยงขนมหวานและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลมและขนมอบกรอบ จะช่วยลดการบริโภคแคลอรีส่วนเกินได้ การดูแลสุขภาพไม่ได้หมายความว่าเราต้องเลิกกินแป้งทั้งหมด แต่เป็นการเลือกแป้งที่เหมาะสมและบริโภคในปริมาณที่พอดี เมื่อรวมกับการออกกำลังกายและการดื่มน้ำให้เพียงพอ … Read more

รู้จัก 9 ประเภทร่างกาย รูปร่างบอกอะไรคุณ ?

         จากบทความก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงเรื่อง การวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายคืออะไร และในบทความนี้ เราจะพามาทำความรู้จักกับ Physique Rating ทั้ง 9 ประเภท ว่าแต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร และมีความหมายอย่างไร ทำความรู้จักกับ Physique Rating          Physique Rating หรือการประเมินระดับกล้ามเนื้อ และไขมันในร่างกายโดยจัดระดับผลลัพธ์ออกเป็น 9 ประเภทร่างกาย จะช่วยให้คุณทราบถึงประเภทร่างกายของคุณว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ทำไมต้องทราบถึงประเภทร่างกาย         เมื่อเริ่มต้นออกกำลังกาย หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกิน การนอน ให้ดีขึ้น อาจจะใช้ระยะเวลาสักระยะกว่าจะเห็นผลลัพธ์จริง การวัดรูปร่างด้วย Physique Rating จะช่วยให้คุณได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับระดับไขมัน และมวลกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยตรวจจับผลลัพธ์ในกรณีที่รูปลักษณ์ภายนอกอาจดูดี แต่ระดับไขมันในร่างกาย (โดยเฉพาะไขมันในช่องท้อง) เพิ่มขึ้น การวัดนี้ให้ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับสุขภาพ และความฟิตของคุณ และเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกิน การนอน และการออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของร่างกายมีเกณฑ์การแบ่งอย่างไร ?         ในแต่ละประเภทร่างกายสามารถแบ่งได้ตามเกณฑ์ 2 อย่างคือ เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Body Fat Percentage) และระดับดัชนีมวลกล้ามเนื้อ (Muscle Mass Index) ดังนี้ … Read more

6 ผลไม้แคลอรีต่ำ น้ำตาลน้อย ตัวช่วยสุขภาพสำหรับเบาหวานและลดน้ำหนัก

การเลือกรับประทานผลไม้ที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแม้ว่าผลไม้จะมีสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ แต่หลายชนิดก็มีน้ำตาลสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักตัวได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำที่สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย และยังช่วยส่งเสริมการลดน้ำหนักอีกด้วย เนื่องจากผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำมักจะมีดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index: GI) อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งหมายความว่ามันจะไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังให้พลังงานน้อย เหมาะสำหรับการควบคุมน้ำหนักและสุขภาพโดยรวม ผลไม้น้ำตาลน้อยที่ควรเลือก 1. เบอร์รี่ (สตรอว์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ราสป์เบอร์รี่) ผลไม้กลุ่มเบอร์รี่เป็นแหล่งของไฟเบอร์สูงและสารต้านอนุมูลอิสระ มีน้ำตาลในปริมาณต่ำ โดยเฉพาะราสป์เบอร์รี่ที่มีน้ำตาลเพียง 4-5 กรัมต่อ 100 กรัม การบริโภคเบอร์รี่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและส่งเสริมสุขภาพหัวใจ 2. แอปเปิ้ลเขียว มีน้ำตาลต่ำกว่าแอปเปิ้ลชนิดอื่น ๆ โดยมีน้ำตาลประมาณ 10 กรัมต่อผลขนาดกลาง อีกทั้งยังมีไฟเบอร์ที่ช่วยให้อิ่มท้องนานและควบคุมความอยากอาหารได้ดี 3. ฝรั่ง เป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำและมีไฟเบอร์สูงมาก ช่วยปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือดและดีต่อระบบย่อยอาหาร อีกทั้งยังให้พลังงานต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก 4. อะโวคาโด แม้จะเป็นผลไม้ที่มีไขมันสูง แต่ไขมันในอะโวคาโดเป็นไขมันดีที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และยังมีน้ำตาลต่ำมาก (ประมาณ 1 กรัมต่อ … Read more

Body Composition Analysis การวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายคืออะไร และข้อจำกัดของ BMI

          รู้หรือไม่ !? การใช้ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวัดความสมส่วนของมวลร่างกายจากน้ำหนักและส่วนสูง แม้ว่าการใช้ดัชนีมวลกาย จะเป็นตัวชี้วัดที่ง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ ค่าดัชนีมวลกายไม่สามารถบอกได้ว่า น้ำหนักตัวของแต่ละบุคคลมาจาก กล้ามเนื้อ ไขมัน หรือปริมาณน้ำในร่างกาย สิ่งนี้จะทำให้ผู้ที่มีกล้ามเนื้อสูง เช่น นักกีฬา นักกล้าม ก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเกิน หรือมีภาวะเป็นโรคอ้วนได้ และในทางกลับกันผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติ อาจจะมีไขมันในร่างกายสูง (ภาวะผอมแต่ไขมันเกิน) ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และเบาหวาน ดังนั้น          การวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย (Body Composition Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เปอเซ็นต์ไขมันในร่างกาย มวลกล้ามเนื้อ น้ำในร่างกาย ไขมันในช่องท้อง และมวลกระดูก จึงกลายเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการประเมินสุขภาพมากกว่า และช่วยประเมินสุขภาพเชิงลึก แถมยังสามารถวางแผนดูแลสุขภาพเฉพาะคนได้แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วเราจะรู้องค์ประกอบร่างกาย (Body Composition) ของเราได้อย่างไร ?                   ในปัจจุบันมีเครื่องวิเคราะห์มวลร่างกาย (Body Composition Analyzer) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้สำหรับชั่งน้ำหนัก … Read more

โซเดียมมีผลต่อการลดน้ำหนักหรือไม่?

ลดน้ำหนักเป็นกระบวนการที่ต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย ทั้งการควบคุมพลังงานที่รับเข้า การออกกำลังกาย และการดูแลโภชนาการ โดยหนึ่งในสารอาหารที่หลายคนสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนักหรือไม่ก็คือ “โซเดียม” ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่เหมาะสม การกินเค็มหรือการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพหลายด้าน และยังมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย หลายคนอาจคิดว่าโซเดียมไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อการสะสมไขมัน แต่ในความเป็นจริง การบริโภคเค็มเกินไปสามารถส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการควบคุมน้ำหนักอย่างมาก ผลกระทบของการกินเค็มต่อการเพิ่มน้ำหนัก 1. การกักเก็บน้ำในร่างกาย โซเดียมมีคุณสมบัติในการดึงน้ำเข้าสู่เซลล์ การบริโภคอาหารเค็มมากเกินไปทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากขึ้น ส่งผลให้รู้สึกบวมน้ำและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นชั่วคราว แม้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะไม่ได้มาจากไขมัน แต่ก็อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและเข้าใจผิดว่าตัวเองน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 2. ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น อาหารเค็มมักมีรสชาติที่กระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้คุณทานอาหารในปริมาณที่มากกว่าปกติ นอกจากนี้ อาหารที่มีโซเดียมสูงมักเป็นอาหารแปรรูปหรืออาหารจานด่วนที่มีแคลอรีสูง ซึ่งสามารถนำไปสู่การสะสมไขมันและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 3. ผลกระทบต่อฮอร์โมนและระบบเผาผลาญ การบริโภคโซเดียมในปริมาณมากอาจส่งผลต่อความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความหิวและการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งอาจทำให้กระบวนการลดน้ำหนักทำได้ยากขึ้น คำแนะนำในการควบคุมโซเดียม หากคุณต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มและส่งเสริมสุขภาพที่ดี การลดการบริโภคเค็มเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ แม้ว่าโซเดียมจะไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อการสะสมไขมัน แต่การลดการกินเค็มจะช่วยลดอาการบวมน้ำ ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง และปรับพฤติกรรมการกินให้ดีขึ้น เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงจากวันนี้เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืนในระยะยาว อ้างอิง

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปี

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี ? การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นการดูแลสุขภาพที่มีประสัทธิภาพ เพราะเป็นการคัดกรองโรคเบื้องต้น และเป็นการหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหากตรวจพบในระยะเริ่มต้นจะได้รีบดูแลรักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีประโยชน์ต่อตัวผู้รับการตรวจ และแพทย์ เพราะช่วยให้มีโอกาสป้องกันและรักษาก่อนที่โรคจะพัฒนาไปมากขึ้น ตรวจสุขภาพประจำปีตรวจอะไรบ้าง ? สำหรับการตรวจสุขภาพโดยรวมเบื้องต้นทั้งเพศหญิงและเพศชาย ประกอบไปด้วย: ตรวจร่างกายทั่วไป เช่น วัดความดัน ดัชนีมวลกาย และสอบถามประวัติสุขภาพ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) หาความผิดปกติของเลือด ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) ประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน ตรวจระดับไขมันในเลือด เช่น คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ตรวจกรดยูริก ประเมินความเสี่ยงโรคเก๊าท์ ตรวจการทำงานของไต เช่น ระดับครีเอตินิน ตรวจการทำงานของตับ ประเมินความผิดปกติของตับและทางเดินน้ำดี ตรวจปัสสาวะ วินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ ประเมินโรคในระบบทางเดินอาหาร (ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ประเมินการทำงานของหัวใจ เอกซเรย์ปอด ตรวจความผิดปกติในช่องทรวงอก อัลตราซาวนด์ช่องท้อง ตรวจความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง ตรวจสุขภาพตา เช่น การมองเห็นและความดันลูกตา การตรวจสุขภาพเพิ่มเติม สำหรับเพศหญิง: ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การตรวจมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก ด้วยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap … Read more

อาหารโซเดียมสูง ภัยเงียบที่ต้องระวังเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน

ในปัจจุบันคนไทยบริโภคเกลือและโซเดียมในปริมาณที่มากเกินกว่าคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งกำหนดให้ไม่ควรเกิน 5 กรัม หรือ 5,000 มก ต่อวัน หรือประมาณ 1 ช้อนชา แต่ข้อมูลจากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ยสูงถึง 10-14 กรัมต่อวัน ซึ่งเกินกว่าความต้องการของร่างกายถึงสองเท่า การบริโภคเกลือมากเกินไปเป็นสาเหตุสำคัญของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ตัวอย่างอาหารที่มีโซเดียมสูงพร้อมปริมาณโซเดียมโดยประมาณ มีดังนี้: เครื่องปรุงรส  เครื่องปรุงรส ปริมาณ ปริมาณโซเดียม เกลือป่น 1 ช้อนชา 2,000 มก. น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ 1,350 มก. ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ 1,190 มก. ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ 518 มก. น้ำจิ้มไก่ 1 ช้อนโต๊ะ 385 … Read more

การล้างผักและผลไม้เพื่อลดสารพิษตกค้าง ขั้นตอนง่ายๆ เพื่อสุขภาพที่ดี

ในปัจจุบัน ผักและผลไม้ถือเป็นอาหารสำคัญที่ผู้คนบริโภคเพื่อรับสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในกระบวนการเพาะปลูก ผักและผลไม้อาจได้รับสารเคมี เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าเชื้อรา ทำให้มีสารพิษตกค้างที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ดังนั้น การล้างผักและผลไม้เพื่อลดสารพิษตกค้างก่อนการบริโภคจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ ทำไมเราต้องล้างผักและผลไม้ให้สะอาด ยาฆ่าแมลงและสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรมักถูกใช้เพื่อป้องกันแมลงและเชื้อโรคต่างๆ แต่สารเหล่านี้อาจยังคงตกค้างบนผิวผักและผลไม้ การรับประทานผักและผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น การแพ้สารเคมี หรือความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในอนาคต การเลือกผักและผลไม้ 1.มีสีสันตามธรรมชาติไม่มีคราบขาวของสารเคมีหรือกลิ่นที่ผิดปกติ 2.มีรอยกัดของหนอนหรือแมลงอยู่บ้าง 3.เลือกผักและผลไม้ตามฤดูกาล การเตรียมผักและผลไม้ก่อนล้าง วิธีล้างผักและผลไม้ ล้างด้วยน้ำธรรมดา *เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการล้างผักและผลไม้จำนวนน้อย ล้างด้วยน้ำส้มสายซู ล้างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต กรณีใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับผักและผลไม้ ที่สำคัญ!! อย. ไม่แนะนำให้ล้างผักและผลไม้ด้วยสารละลายน้ำผสมด่านทับทินเนื่องจากตามกฎหมายยังไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร การล้างผักและผลไม้ก่อนบริโภคเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยลดสารพิษตกค้างและป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ ควรเลือกวิธีการล้างที่เหมาะสมและใช้เวลาอย่างเพียงพอเพื่อให้มั่นใจว่าผักและผลไม้ปลอดภัยต่อการบริโภค การล้างด้วยน้ำสะอาด การแช่ในน้ำเกลือ น้ำส้มสายชู หรือเบกกิ้งโซดา เป็นวิธีที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและครอบครัว บทความต้นฉบับ นิตยสารสาระวิทย์ ฉบับที่ 135 เดือน มิถุนายน 2567