กลับมาสุขภาพดี ด้วยวิถีของการวิ่ง แบบ New Normal

ThaiSook I 2565 การเตรียมความพร้อมสำหรับการออกกำลังกายในวิถี New Normal เน้นทั้งดูแลสุขภาพลักษณะส่วนบุคคลและรับผิดชอบต่อส่วนรวม นอกจากนี้ยังต้องการการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อสร้างความสุขในการออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ในวิถี New Normal ที่ต้องปรับตัวตามสถานการณ์โรคระบาด เราควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลและรับผิดชอบต่อส่วนรวม และได้รับสุขภาพดี ดังนี้: การป้องกันการบาดเจ็บจาการออกกำลังกาย ควรคำนึงถึงหลักการง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อ ยืดเหยียด กล้ามเนื้อ ก่อนออกกำลังกาย และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หลังออกกำลังกาย ทุกครั้ง ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที อบอุ่นร่างกาย อบอุ่นร่างกาย ก่อนออกกำลังกายเพื่อเตรียมความพร้อมด้วยการ เดินหรือวิ่งเหยาะ ๆ ประมาณ 5-10 นาทีกาย ทุกครั้ง ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ข้อต่อ เริ่มเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ เพื่อปรับตัวเตรียมพร้อมต่อการออกกำลังกาย สมรรถภาพของหัวใจ ค่อย ๆ เพิ่มระดับการออกกำลังกายให้ได้ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ อย่างน้อย 20-30 … Read more

Intermittent Fasting ( IF ) – การกินแบบจำกัดช่วงเวลา

ThaiSook I 2565 Intermittent Fasting หรือ การกินแบบจำกัดช่วงเวลา คือ เป็นการกินในรูปแบบหมุนเวียนระหว่างช่วงการกินอาหาร และช่วงการอดอาหาร โดยไม่ได้ระบุว่าควรกินอะไร อาหารประเภทไหน แต่เน้นที่การกำหนดเวลาในการกินและสามารถเลือกกินในช่วงเวลาใดก็ได้ ตามที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล ซึ่งปัจจุบันการกินอาหารแบบ IF ได้รับความนิยมมากในหมู่คนที่อยากลดน้ำหนัก เพราะมุ่งหวังผลลัพธ์ด้านการลดน้ำหนัก จากการจำกัดเวลาการกินซึ่งโดยมากจะส่งผลให้ปริมาณแคลอรี่โดยรวมที่ได้รับทั้งวันน้อยลง แนวทางการทำ IF นั้นทำได้หลายวิธี ซึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม ประกอบไปด้วย ถึงแม้ว่าวิธีการกินแบบ IF เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม และโดยมากจะได้ผลในการลดน้ำหนักจริง แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำสำเร็จได้ เนื่องจากส่วนมากจะมีผลข้างเคียงในระยะแรกของการทำ เช่น หน้ามืด เวียนหัว รู้สึกหิวตลอดเวลา เป็นต้น ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่เหมาะกับคนที่มีโรคประจำตัว และการทำ IF ควรค่อย ๆ เริ่มจากที่ไม่อดมากเกินไปก่อน เช่น อาจเริ่มจาก 14 : 10 เพื่อให้เคยชินก่อนที่จะขยับไป 16 : 8 เป็นต้น และหากท่านมี BMI ต่ำกว่าเกณฑ์อยู่แล้ว ควรระวังการรับประทานอาหาร … Read more

Walking For Health (เดินเพื่อสุขภาพ)

ThaiSook I 2565 การเดินเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ทำได้ง่าย ทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ไม่เสียค่าใช้จ่าย และยังเป็นวิธีทำให้มีสุขภาพดีได้ บางครั้งคนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามการออกกำลังกาย ยิ่งช่วงวัยทำงานมักจะไม่ใส่ใจการออกกำลังกายเท่าที่ควร ดังนั้นการออกกำลังกายโดยการเดินเร็วก็สามารถช่วยให้เสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ช่วยในเรื่องเผาผลาญแคลอรีส่วนเกิน และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น หากเดินแล้วหัวใจยังเต้นไม่เร็วพอ แสดงว่ายังเดินให้เหนื่อยไม่พอ จะต้องเพิ่มครวามเร็ง หรือเพิ่มการแกว่งแขนขาให้มากขึ้น จะใช้วิธีเดินขึ้นทางลาดหรือขึ้นบันได สำหรับท่านที่ต้องการลดความอ้วนนั้น ขอให้เดินเร็ว ๆ เพราะเป็นวิธีที่ดี และปลอดภัยที่สุด คนอ้วนที่มีน้ำหนักตัวมากไม่เหมาะที่จะวิ่ง หากเดินได้เร็วถึงชั่วโมงละประมาณ 6 กิโลเมตรหรือนาทีละ 100 เมตร จะใช้พลังงานถึงชั่วโมงละ 350 แคลอรี และการเดินเพื่อสุขภาพยังเหมาะสำหรับผู้สูงอายุอีกด้วย อ้างอิง The.fit Way (2565). Brisk Walking: How To Do, Benefits & More. สืบค้นจาก https://blog.cult.fit/articles/brisk-walking-meaning-benefits-best-practices-and-more สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2561). เดิน ให้สุขภาพดี. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/?p=228303 ThaiSook I 2565

รู้ไหมว่า…เส้นรอบเอวสามารถบอกถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพได้

ขนาดของเส้นรอบเอวที่วัดผ่านระดับสะดือ สามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงทางสุขภาพได้ ซึ่งวิธีการวัดเส้นรอบเอวที่ถูกต้องคือใช้สายวัดวัดรอบเอวผ่านระดับสะดือให้อยู่แนวขนานกับพื้นและไม่รัดแน่นหรือหลวมจนเกินไป แล้วเราจะทราบได้ยังไงว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการวัดเส้นรอบเอวควรเป็นเท่าไหร่ เกณฑ์ที่เราจะสามารถวัดได้คือ ” เกณฑ์เส้นรอบเอวที่เหมาะสมคือ ไม่ควรเกินส่วนสูง (เซนติเมตร) หาร 2 “ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร หารด้วย 2 ดังนั้น เส้นรอบเอวที่เหมาะสมจึงไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร เป็นต้น หากมีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์ มีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคอ้วนลงพุง โรคหัวใจไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นหากอยากห่างไกลจากความเสี่ยงการเกิดโรค มีหลักการปฎิบัติตนสำหรับลดพุงลดเอวง่ายๆ ตามนี้เลยค่ะ 2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และบริหารร่างกายลดไขมันเฉพาะส่วน เช่น การเล่นฮูล่าฮูป ซิทอัพ การออกกำลังกายโดยใช้ท่าแพลงก์ อ้างอิง เส้นรอบเอว,Know Your Numbers & Know Your Risks รู้ตัวเลข รู้ความเสี่ยงสุขภาพ,กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข