อ่านฉลาก เลือกซื้ออย่างฉลาด

ThaiSook I 2566 การรับรู้ข้อมูลทางโภชนาการของอาหารที่เราบริโภคจะช่วยให้เรารักษาสมดุลทางโภชนาการได้อย่างง่ายดาย โดยเราสามารถทราบปริมาณสารอาหารและค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมในแต่ละวันได้ จากการรับรู้เกี่ยวกับธาตุอาหารหลัก ซึ่งประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายของเรา ในกรณีของอาหารทั่วไป เช่น ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว และอาหารตามสั่ง ถ้าเรารู้ว่าอาหารเหล่านี้มีส่วนผสมหรือวัตถุดิบอะไรบ้าง เราสามารถประเมินได้ว่ามีปริมาณสารอาหารและค่าทางโภชนาการเท่าไหร่ และสามารถคำนวณปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับจากอาหารเหล่านี้ได้ แต่สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เช่น อาหารแห้ง อาหารที่แช่แข็ง และเครื่องดื่มรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ จำนวนมาก อาจจะยากที่จะรู้ว่ามีปริมาณสารอาหารและส่วนผสมอะไรบ้างในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ โดยเฉพาะเมื่อไม่มีป้ายกำกับหรือป้ายสารอาหารที่ชัดเจน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีการแสดงฉลากโภชนาการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เพื่อแสดงคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารแก่ผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคมีความรู้และสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของตนได้ ฉลากโภชนาการคืออะไร? ฉลากโภชนาการ คือ ฉลากอาหารที่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการ ซึ่งระบุชนิดและปริมาณสารอาหารของอาหารนั้นอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ที่เรียกว่า “กรอบข้อมูลโภชนาการ” ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบเต็ม และแบบย่อ 1. ฉลากโภชนาการแบบเต็ม เป็นฉลากที่แสดงชนิดและปริมาณสารอาหารที่สำคัญที่ควรทราบ 15 รายการ ดังตัวอย่าง สำหรับฉลากที่มีความสูงจำกัด สามารถแสดงฉลากโภชนาการเต็มรูปในลักษณะแบบแนวนอนหรือแบบขวางตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข … Read more

กินเค็ม ทำให้อ้วนจริงหรือ

ThaiSook I 2566 โซเดียมไม่ได้ทำให้อ้วนโดยตรง แต่การบริโภคโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพในรูปแบบต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ โซเดียมเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเกลือโซเดียมคลอไรด์ซึ่งมีปริมาณสูงในอาหารธรรมดาหลายอย่าง เช่น อาหารเค็ม อาหารแปรรูป เครื่องดื่มที่หวาน และอาหารแบบอื่นๆ โดยการบริโภคโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดการสะสมของน้ำในร่างกาย ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โซเดียม คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็ก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเค็มด้วยวิธี 1) ปรับการปรุงอาหาร โดยปกติการปรุงอาหาร มักจะใช้เครื่องปรุงหลากหลายชนิดเพื่อความอร่อยและกลมกล่อม ทั้งนี้ เครื่องปรุงแต่ละชนิดมีปริมาณโซเดียมที่แตกต่างกัน เมื่อเทียบปริมาณโซเดียม ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุง (ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ) แต่การปรุงอาหารในแต่ละครั้ง จะใส่เครื่องปรุงรส มากกว่า 1 ชนิด และอาหารบางชนิดอาจมีการเติมเครื่องปรุงรสต่างๆ เพิ่มเติม ซึ่งอาจส่งผลให้ได้รับปริมาณโซเดียมในแต่ละวันเกินได้ ดังนั้น ควรชิมก่อนปรุง ลดการเติมเครื่องปรุงรสทุกอย่าง รวมถึงน้ำจิ้ม หรือซอสต่างๆ หลีกเลี่ยงการกินน้ำซุป หรือกินน้อยลง เป็นต้น 2) อ่านฉลากโภชนาการ ด้วยการสังเกตปริมาณโซเดียมบนบรรจุภัณฑ์ ทั้งแบบที่เป็นฉลาก … Read more

ผักผลไม้ไฟเบอร์สูง

ThaiSook I 2566 “ไฟเบอร์” หรือ “กากใยอาหาร” (Dietary fiber) คือส่วนประกอบของพืชที่เป็นเส้นใย และเอนไซม์ในร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ไม่มีสารอาหารและไม่มีพลังงาน แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ เช่น ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ พบได้มากในผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืช ดังนั้น เส้นใยอาหารจึงเป็นส่วนสำคัญของอาหารสำหรับคนที่ต้องการสุขภาพที่ดีในปัจจุบัน ใยอาหาร สามารถแบ่งเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำ (soluble fiber) และไม่ละลายน้ำ (insoluble fiber) ผักผลไม้อะไรให้ไฟเบอร์สูง ประโยชน์ของไฟเบอร์ ไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบของพืชที่พบได้ในธัญพืช,ผัก,ผลไม้ และถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ช่วยในการขับถ่ายของเสียอย่างง่ายดาย ลดการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการติดเชื้อ และโรคร้ายต่างๆ รวมถึงช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด นอกจากนี้ ยังช่วยในการควบคุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ เช่น มะเร็งลำไส้ ฯลฯ ดังนั้นการบริโภคผักผลไม้เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการรักษาสุขภาพของเรา และช่วยป้องกันการเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิง

“โปรตีน” สารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ

ThaiSook I 2566 โปรตีน คือ สารอาหารหลักที่มีความจำเป็นมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แหล่งของโปรตีนจะอยู่ในอาหารจำพวก เนื้อ นม ไข่ และถั่ว ที่อยู่ในอาหารที่กินในแต่ละวัน โดยสิ่งสำคัญที่ร่างกายคนต้องการคือโมเลกุลขนาดเล็ก ที่เรียกว่า “กรดอะมิโน” ที่ประกอบเป็นโปรตีน มีหน้าที่มาช่วยซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายเราต้องการในแต่ละวันกี่กรัมถึงจะเพียงพอ? ปริมาณโปรตีนที่เราควรได้รับในแต่ละวันจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ระดับกิจกรรมที่ทำและสุขภาพโดยรวมของบุคคลนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว คำแนะนำสำหรับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับคนทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 0.8-1 กรัมต่อกิโลแคลอรี (g/kg) ต่อวัน ดังนั้น หากคุณมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม คุณควรได้รับปริมาณโปรตีนประมาณ 48-60 กรัมต่อวัน แต่อาจมีการปรับขึ้นลงได้ตามสถานการณ์ และความต้องการของแต่ละบุคคล โดยสามารถเพิ่มปริมาณโปรตีนในอาหารโดยการบริโภคอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว เนยถั่ว ไข่ม้วน หรือโปรตีนผงโดยตรง ประโยชน์ของโปรตีน การบริโภคโปรตีนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยให้ลดน้ำหนักได้โดยตรง แต่โปรตีนสามารถช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อซึ่งจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งอาจจะช่วยลดน้ำหนักได้ในระยะยาว แต่ต้องร่วมกับการออกกำลังกายและการบริหารจัดการอาหารให้เหมาะสมด้วย … Read more

เส้นใยอาหารสูงดีต่อร่างกาย และคนที่อยากลดน้ำหนัก

ThaiSook I 2566 ใยอาหาร หรือ ไฟเบอร์ คืออะไร? ใยอาหารเป็นส่วนของอาหารที่มาจากพืชที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมได้ ไม่เหมือนกับสารอาหารอื่นๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน แต่เส้นใยอาหารมีส่วนสำคัญในการรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และการขับถ่าย ใยอาหารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อาหารที่มีกากใยช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร? อาหารที่มีกากใยสูงประกอบไปด้วยผักผลไม้, ธัญพืช, ธัญญาหารทั้งหลาย เช่น ข้าวโอ๊ต, ข้าวกล้อง, อาโวคาโด, เมล็ดและธัญญาหารที่มีกากใยสูง การเพิ่มการกินอาหารเหล่านี้ลงในอาหารของคุณอาจช่วยลดน้ำหนักได้ อย่างไรก็ตาม ควรรักษาระดับปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อร่างกาย และทำกิจกรรมทางกายอื่นๆ ร่วมกับการกินกากใยด้วย ถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักหรือสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อได้สุขภาพที่ดีต่อตัวเราเอง อ้างอิง ThaiSook I 2566                   

ควรทำอย่างไรคุมอาหารแล้ว”ตบะแตก”

ThaiSook I 2566 ปัญหาของคนลดน้ำหนักส่วนใหญ่ต้องเจอ คือการที่พยายามคุมอาหาร แต่คุมได้ไม่กี่วันก็ตบะแตกกลับมากินแบบเดิม ทำให้การลดน้ำหนักล้มเหลว และยิ่งลดก็ทำให้ยิ่งกินมากขึ้นไปด้วย แล้วสุดท้ายก็ล้มเลิกไป เป็นปกติที่คนเราจะปรับพฤติกรรมเพื่อสุขภาพเป็นเวลานานแล้วเกิดการ “กลับไปที่เก่า” หรือกลับไปมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิม ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาทางสุขภาพ วันนี้แอดมินจะมาแนะนำแนวทาง และเคล็ดลับจาก สสส. ที่ทำให้เราสามารถรักษานิสัยที่ดีต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่องเอาไว้ได้ 1. ตั้งเป้าหมายที่มีความสมเหตุสมผลมองถึงปัญหาทางสุขภาพตนเอง เราควรประเมินสุขภาพของตนเอง เพื่อทดทวนถึงปัญหาทางสุขภาพของตนเอง ตั้งเป้าหมายว่าต้องทำอะไรบ้าง และทำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้เพื่อสุขภาพดี ก็สามารถทำให้เป้าหมายในการปรับพฤติกรรมสำเร็จได้ 2. วางแผนการรับประทานอาหาร เมนูอาหารหรือเตรียมการล่วงหน้า วางแผนล่วงหน้าว่าจะกินอะไรในแต่ละมื้อจะทำให้เราควบคุมปริมาณอาหารง่ายขึ้น เนื่องจากเราสามารถวางแผนในการซื้ออาหารได้ และลดความเสี่ยงของการซื้ออาหารแบบหุนหันพลันแล่น สิ่งนี้สามารถช่วยรักษาพฤติกรรมการกินที่ดีต่อสุขภาพเพื่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น 3. อย่าจำกัดตนเองมากเกินไป การควบคุมอาหารเราไม่จำเป็นต้องจำกัดตนเองมากเกินไป เช่น อาหารบางชนิดที่เราชอบแต่ไม่ดีต่อสุขภาพ เราก็ไม่จำเป็นต้องงดมันไปเลย แทนที่เราจะงดอาหารเหล่านี้ เราสามารถปรับลดปริมาณอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่เราชอบลง และเพิ่มอาหารเพื่อสุขภาพ โดยใช้หลักการ “ปรับ” แทน “งด” ก็สามารถเลือกกินได้อย่างมีความสุข และดีต่อสุขภาพทั้งกายและใจ 4. อย่าผูกติดการให้รางวัลกับตนเองกับการกินสิ่งที่ชอบจนลืมเรื่องสุขภาพ หลายคนมักให้รางวัลกับตนเองเมื่อประสบความสำเร็จด้านต่างๆ ด้วยการ “กิน” ซึ่งความเป็นจริงนับว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะฉะนั้นการให้รางวัลตนเองควรเปลี่ยนไปในทางอื่นๆ เช่น อุปกรณ์กีฬาที่ชอบ … Read more

การกินอาหารแปรรูปมากเกินไป เสี่ยงขาดสารอาหาร ส่งผลให้ดูแก่ก่อนวัย

ThaiSook I 2565 ปัจจุบันมีแนวโน้มที่คนส่วนใหญ่จะลืมดูแลสุขภาพของตนเองเนื่องจากการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ และมีความเครียดสะสมจากการทำงาน จึงทำให้การเลือกกินอาหารไม่ได้รับสารอาหารเท่าที่ควร และมีแนวโน้มในการกินอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแปรรูปมากขึ้น เพราะมีความสะดวกและรวดเร็ว อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่น ขาดสารอาหาร ผิวพรรณเหี่ยวย่น หย่อนคล้อยดูแก่ก่อนวัย และเสี่ยงสมองเสื่อมได้ ดังนั้นเราควรดูแลสุขภาพของเราอย่างสม่ำเสมอ และเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อป้องกันการเกิดโรค และสุขภาพที่ดีขึ้น หากกินอาหารแปรรูปมากเกินไป จะทำให้ร่างกายเสี่ยงขาดสารอาหารสำคัญ ได้แก่ 1) วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ พบมากในผักผลไม้ มีส่วนช่วยให้กระบวนการต่างๆ ของร่างกายทำงานได้เป็นปกติ โดยเฉพาะระบบประสาทและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ผักผลไม้หลากสียังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันเซลล์ไม่ให้เกิดความเสียหาย หากร่างกายขาดสารอาหารเหล่านี้จะส่งผลให้เซลล์ถูกทำลายได้ง่าย ผิวหนังเหี่ยวย่นเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร 2) โปรตีนเป็นองค์ประกอบโครงสร้างของเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ทั้งผิวหนังกระดูก กล้ามเนื้อ เล็บ เอ็น และข้อ โปรตีนยังเป็นสารอาหารสำคัญในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและใช้สร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันต่างๆ ด้วย อาหารแปรรูปมักจะมีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง แต่มีโปรตีนต่ำ หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ จะทำให้ป่วยง่าย หายช้า ผิวหนังหยาบกร้าน ดูแก่ก่อนวัย และอาจเสี่ยงสมองเสื่อมจากการขาดกรดอะมิโนจำเป็นต่อสมองอย่างทริปโตเฟน ที่พบได้ในเนื้อสัตว์ นม ไข่ 3) ใยอาหารมีส่วนสำคัญในการช่วยระบบขับถ่าย ทำให้เกิดกระบวนการหมักในลำไส้ได้กรดไขมันสายสั้นช่วยชะลอภาวะการอักเสบของสมองที่เพิ่มขึ้นตามอายุ สามารถกำจัดเซลล์มะเร็ง … Read more

อาหารคลีน (Clean Food)

ThaiSook I 2565 ตอนนี้เทรนใหม่กำลังมาแรงในหมู่คนรักสุขภาพ มักจะพูกถึงเรื่องการกินอาหารครีนอยู่เสมอซึ่งหลายๆ คนฟังแล้วอาจไม่เข้าใจว่าการกินคลีนนั้นคืออะไร แล้วดีอย่างไร และถ้าหากพูดถึงการมีสุขภาพดี แน่นอนว่าไม่ได้หมายถึงแค่การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลับรวมถึงการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วย อาหารคลีน (Clean Food) คือ อาหารที่ผ่านกระบวนการและการปรุงแต่งน้อยที่สุด หรือไม่ผ่านการปรุงแต่งเลย วิธีการเลือกกินอาหารคลีน อาหารและเครื่องดื่มที่ควรเลี่ยง การลดการบริโภคอาหารที่ไม่คลีนอาจเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วน รวมถึงการเสื่อมของสุขภาพที่เกิดจากสารเคมีสังเคราะห์  และทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น    อ้างอิง ThaiSook I 2565

Plant-based Diet (อาหารเน้นพืช)

ThaiSook I 2565 Plant-based Diet คือการกินอาหารเน้นพืชเเป็นหลัก ไม่ได้มีแค่ผักและผลไม้เท่านั้น ยังรวมไปถึงธัญพืชไม่ขัดสี พืชมีหัว และถั่วชนิดต่าง ๆ ด้วย ซึ่งพืชที่นำมากินควรผ่านการแปรรูปให้น้อยที่สุด และในส่วนของเนื้อสัตว์จะกินหรือไม่กินก็ได้ แต่ถ้าจะกินควรกินในปริมาณที่น้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับพืช ผัก และผลไม้ที่เรากิน Plant-based Diet สามารถกินอะไรได้บ้าง Plant-based Diet ดีต่อสุขภาพอย่างไร อ้างอิง ThaiSook I 2565

กินตอนนี้ดีหรือไม่ กินตอนไหนดีกว่ากัน

สาระวิทย์ I กรกฎาคม 2565 ปริมาณ และประเภทของอาหารที่เรากินมีความสัมพันธ์กับร่างกายอย่างชัดเจน ถ้าเรากินมากกว่าที่ร่างกายสามารถเผาผลาญได้ในแต่ละวันก็จะทำให้น้ำหนักขึ้น หากกินน้อยกว่าที่เผาผลาญได้ก็จะทำให้น้ำหนักลดลง ถึงแม้ว่าอัตราการเผาผลาญของแต่ละคนนั้นขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของอาหารที่กินเข้าไป การออกกำลังกาย ปริมาณกล้ามเนื้อ การทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย แต่ในภาพรวมปริมาณอาหารที่เรากินมีความสัมพันธ์โดยตรงกับน้ำหนักตัว เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่าถ้าเรากินอาหารเหมือนเดิม ปริมาณเท่าเดิม แต่กินในเวลาที่แตกต่างกัน ผลจะเป็นอย่างไร ดร. ชัตชิดานันดา แพนดา (Satchidananda Panda) จาก Salk Institute for Biological Studies สหรัฐอเมริกา ตั้งคำถามเดียวกันนี้ และได้ทำการทดลองกับหนู เขาแบ่งหนูที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน ทุกอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ให้กินอาหารที่มีไขมันมากในปริมาณต่อวันที่เท่ากัน และสารอาหารเหมือนกันทุกอย่าง แต่หนูกลุ่มที่ 1 ถูกจํากัดเวลาการกิน ให้กินอาหารได้ภายในช่วงเวลา 8 ชั่วโมง เช่น ให้กินได้ตั้งแต่ 10 โมงเช้า จนถึง 6 โมงเย็น ส่วนหนูกลุ่มที่ 2 ให้กินได้ตลอดวัน … Read more