สาเหตุที่ทำให้เกิด “โรคอ้วน” คืออะไร?

ThaiSook I 2566 การรับประทานอาหารในชีวิตประจำของคนเรามักจะมีประกอบไปด้วย อาหารประเภทแป้งและโปรตีน เมื่อเรารับประทานอาหารเหล่านี้เป็นจำนวนมากจะทำให้ปริมาณพลังงานที่ได้รับมากเกินความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะเริ่มสะสมอาหารเหล่านี้ในรูปของไขมัน ยิ่งเกิดการสะสมเป็นเวลานานอาจจะกลายเป็นโรคอ้วนได้ การควบคุมปริมาณพลังงานที่บริโภคเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของร่างกาย เพื่อไม่ให้มีการสะสมไขมันเกิดขึ้นเยอะเกินจนเป็นโรคอ้วน ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักและป้องกันโรคอ้วนก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง เนื่องจากโรคนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอื่นๆ ได้ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้ โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุมาจาก สภาพพันธุกรรม พฤติกรรมทางสุขภาพ โรคทางการแพทย์ ปัจจัยจิตวิทยา: สภาพแวดล้อม: อ้างอิง ThaiSook I 2566

10 ผลไม้ที่อร่อยและมีประโยชน์

ThaiSook I 2566 การกินผลไม้ช่วยให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโตและฟื้นฟูร่างกายได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้น ผลไม้ส่วนมากจะมีใยอาหารสูงทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง ซึ่งเป็นผลดี แตกต่างกับการกินคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลประเภทอื่น ที่ไม่มีใยอาหาร ดังนั้นผลไม้จึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีในการเติมสารอาหารให้กับร่างกายของเรา คุณค่าทางโภชนาการในผลไม้ กล้วยไข่ / Banana กล้วยไข่มีเบต้าแคโรทีนสูง มีโพแทสเซียมสูง กล้วยยิ่งสุก ปริมาณน้ำตาล และเบต้าแคโรทีนยิ่งมีมาก 1 ส่วน = 2 ผลเล็ก = น้ำหนักส่วนที่กินได้ 50 กรัมพลังงาน : 56 กิโลแคลอรีน้ำ : 36 กรัมน้ำตาล : 11 กรัมใยอาหาร : 1.0 กรัมเบต้าแคโรทีน : 136 ไมโครกรัมวิตามินซี : 5 มิลลิกรัมโพแทสเซียม : 135 มิลลิกรัม แก้วมังกร / Dragon Fruit แก้วมังกรมีใยอาหารสูง … Read more

ขยับร่างกายให้อะไรมากกว่าที่คิด

ThaiSook I 2566 การเคลื่อนไหวร่างกายหรือกิจกรรมทางกาย (physical activity) หมายถึง การขยับเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถใด ๆ ที่ทำให้เกิดการใช้พลังงาน ไม่ว่าเป็นการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ทำงานบ้าน เดินเล่น หรือแม้แต่การเล่นดนตรีโดย World Health Organization (WHO) แนะนำว่าการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอใน 1 สัปดาห์ คือมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลางมากกว่า 150 นาทีขึ้นไปนั้น เป็นประโยชน์อย่างมากต่อระบบหัวใจ ช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และยังมีผลดีต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายโดยรวมอีกด้วย คำแนะนำส่วนมากจะเน้นให้เราออกกำลังกายให้มากขึ้น หรือ เพิ่มกิจกรรมทางกาย เช่น พยายามเดินให้มากขึ้น แต่ด้วยวิถีชีวิตในปัจจุบัน งานวิจัยพบว่าเราทุกคนมีค่าเฉลี่ยการนั่งมากกว่าวันละ 7-8 ชั่วโมง ดร.มาร์ก แฮมิลตัน (Marc Hamilton) จาก University of Houston จึงตั้งคำถามว่า จะมีอะไรที่เราทำได้ง่าย ๆ และนาน ๆ ในระหว่างนั่งทำงานอยู่ได้บ้างแล้วถ้าหากทำได้ การใช้แค่กล้ามเนื้อส่วนเล็ก ๆ ที่ไม่ทำให้เราเหนื่อยและไม่มีการใช้พลังงานโดยรวมมากนัก จะส่งผลอะไรต่อระบบการเผาผลาญของร่างกายโดยรวมของเราหรือไม่ หรือแค่ทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นแข็งแรงขึ้น … Read more

เส้นใยอาหารสูงดีต่อร่างกาย และคนที่อยากลดน้ำหนัก

ThaiSook I 2566 ใยอาหาร หรือ ไฟเบอร์ คืออะไร? ใยอาหารเป็นส่วนของอาหารที่มาจากพืชที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมได้ ไม่เหมือนกับสารอาหารอื่นๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน แต่เส้นใยอาหารมีส่วนสำคัญในการรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และการขับถ่าย ใยอาหารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อาหารที่มีกากใยช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร? อาหารที่มีกากใยสูงประกอบไปด้วยผักผลไม้, ธัญพืช, ธัญญาหารทั้งหลาย เช่น ข้าวโอ๊ต, ข้าวกล้อง, อาโวคาโด, เมล็ดและธัญญาหารที่มีกากใยสูง การเพิ่มการกินอาหารเหล่านี้ลงในอาหารของคุณอาจช่วยลดน้ำหนักได้ อย่างไรก็ตาม ควรรักษาระดับปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อร่างกาย และทำกิจกรรมทางกายอื่นๆ ร่วมกับการกินกากใยด้วย ถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักหรือสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อได้สุขภาพที่ดีต่อตัวเราเอง อ้างอิง ThaiSook I 2566                   

ควรทำอย่างไรคุมอาหารแล้ว”ตบะแตก”

ThaiSook I 2566 ปัญหาของคนลดน้ำหนักส่วนใหญ่ต้องเจอ คือการที่พยายามคุมอาหาร แต่คุมได้ไม่กี่วันก็ตบะแตกกลับมากินแบบเดิม ทำให้การลดน้ำหนักล้มเหลว และยิ่งลดก็ทำให้ยิ่งกินมากขึ้นไปด้วย แล้วสุดท้ายก็ล้มเลิกไป เป็นปกติที่คนเราจะปรับพฤติกรรมเพื่อสุขภาพเป็นเวลานานแล้วเกิดการ “กลับไปที่เก่า” หรือกลับไปมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิม ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาทางสุขภาพ วันนี้แอดมินจะมาแนะนำแนวทาง และเคล็ดลับจาก สสส. ที่ทำให้เราสามารถรักษานิสัยที่ดีต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่องเอาไว้ได้ 1. ตั้งเป้าหมายที่มีความสมเหตุสมผลมองถึงปัญหาทางสุขภาพตนเอง เราควรประเมินสุขภาพของตนเอง เพื่อทดทวนถึงปัญหาทางสุขภาพของตนเอง ตั้งเป้าหมายว่าต้องทำอะไรบ้าง และทำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้เพื่อสุขภาพดี ก็สามารถทำให้เป้าหมายในการปรับพฤติกรรมสำเร็จได้ 2. วางแผนการรับประทานอาหาร เมนูอาหารหรือเตรียมการล่วงหน้า วางแผนล่วงหน้าว่าจะกินอะไรในแต่ละมื้อจะทำให้เราควบคุมปริมาณอาหารง่ายขึ้น เนื่องจากเราสามารถวางแผนในการซื้ออาหารได้ และลดความเสี่ยงของการซื้ออาหารแบบหุนหันพลันแล่น สิ่งนี้สามารถช่วยรักษาพฤติกรรมการกินที่ดีต่อสุขภาพเพื่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น 3. อย่าจำกัดตนเองมากเกินไป การควบคุมอาหารเราไม่จำเป็นต้องจำกัดตนเองมากเกินไป เช่น อาหารบางชนิดที่เราชอบแต่ไม่ดีต่อสุขภาพ เราก็ไม่จำเป็นต้องงดมันไปเลย แทนที่เราจะงดอาหารเหล่านี้ เราสามารถปรับลดปริมาณอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่เราชอบลง และเพิ่มอาหารเพื่อสุขภาพ โดยใช้หลักการ “ปรับ” แทน “งด” ก็สามารถเลือกกินได้อย่างมีความสุข และดีต่อสุขภาพทั้งกายและใจ 4. อย่าผูกติดการให้รางวัลกับตนเองกับการกินสิ่งที่ชอบจนลืมเรื่องสุขภาพ หลายคนมักให้รางวัลกับตนเองเมื่อประสบความสำเร็จด้านต่างๆ ด้วยการ “กิน” ซึ่งความเป็นจริงนับว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะฉะนั้นการให้รางวัลตนเองควรเปลี่ยนไปในทางอื่นๆ เช่น อุปกรณ์กีฬาที่ชอบ … Read more

Intermittent Fasting ( IF ) – การกินแบบจำกัดช่วงเวลา

ThaiSook I 2565 Intermittent Fasting หรือ การกินแบบจำกัดช่วงเวลา คือ เป็นการกินในรูปแบบหมุนเวียนระหว่างช่วงการกินอาหาร และช่วงการอดอาหาร โดยไม่ได้ระบุว่าควรกินอะไร อาหารประเภทไหน แต่เน้นที่การกำหนดเวลาในการกินและสามารถเลือกกินในช่วงเวลาใดก็ได้ ตามที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล ซึ่งปัจจุบันการกินอาหารแบบ IF ได้รับความนิยมมากในหมู่คนที่อยากลดน้ำหนัก เพราะมุ่งหวังผลลัพธ์ด้านการลดน้ำหนัก จากการจำกัดเวลาการกินซึ่งโดยมากจะส่งผลให้ปริมาณแคลอรี่โดยรวมที่ได้รับทั้งวันน้อยลง แนวทางการทำ IF นั้นทำได้หลายวิธี ซึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม ประกอบไปด้วย ถึงแม้ว่าวิธีการกินแบบ IF เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม และโดยมากจะได้ผลในการลดน้ำหนักจริง แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำสำเร็จได้ เนื่องจากส่วนมากจะมีผลข้างเคียงในระยะแรกของการทำ เช่น หน้ามืด เวียนหัว รู้สึกหิวตลอดเวลา เป็นต้น ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่เหมาะกับคนที่มีโรคประจำตัว และการทำ IF ควรค่อย ๆ เริ่มจากที่ไม่อดมากเกินไปก่อน เช่น อาจเริ่มจาก 14 : 10 เพื่อให้เคยชินก่อนที่จะขยับไป 16 : 8 เป็นต้น และหากท่านมี BMI ต่ำกว่าเกณฑ์อยู่แล้ว ควรระวังการรับประทานอาหาร … Read more

รู้ไหมว่า…เส้นรอบเอวสามารถบอกถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพได้

ขนาดของเส้นรอบเอวที่วัดผ่านระดับสะดือ สามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงทางสุขภาพได้ ซึ่งวิธีการวัดเส้นรอบเอวที่ถูกต้องคือใช้สายวัดวัดรอบเอวผ่านระดับสะดือให้อยู่แนวขนานกับพื้นและไม่รัดแน่นหรือหลวมจนเกินไป แล้วเราจะทราบได้ยังไงว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการวัดเส้นรอบเอวควรเป็นเท่าไหร่ เกณฑ์ที่เราจะสามารถวัดได้คือ ” เกณฑ์เส้นรอบเอวที่เหมาะสมคือ ไม่ควรเกินส่วนสูง (เซนติเมตร) หาร 2 “ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร หารด้วย 2 ดังนั้น เส้นรอบเอวที่เหมาะสมจึงไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร เป็นต้น หากมีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์ มีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคอ้วนลงพุง โรคหัวใจไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นหากอยากห่างไกลจากความเสี่ยงการเกิดโรค มีหลักการปฎิบัติตนสำหรับลดพุงลดเอวง่ายๆ ตามนี้เลยค่ะ 2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และบริหารร่างกายลดไขมันเฉพาะส่วน เช่น การเล่นฮูล่าฮูป ซิทอัพ การออกกำลังกายโดยใช้ท่าแพลงก์ อ้างอิง เส้นรอบเอว,Know Your Numbers & Know Your Risks รู้ตัวเลข รู้ความเสี่ยงสุขภาพ,กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข