เปลี่ยนชีวิตง่าย ๆ เพื่อสุขภาพดีที่ยั่งยืน

การมีสุขภาพที่ดีไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแค่เราเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถทำให้สุขภาพดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน และนี่คือเคล็ดลับง่าย ๆ พร้อมตัวอย่างที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ทันที 1. การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 2. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ 3. การพักผ่อนอย่างเพียงพอ 4. การลดความเครียด 5. การดื่มน้ำให้เพียงพอ 6. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง สุขภาพดีเริ่มต้นจากตัวเราเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อยในแต่ละวัน จะช่วยให้คุณมีสุขภาพดีในระยะยาว ลองเริ่มต้นจากวันนี้แล้วคุณจะรู้ว่า “สุขภาพดีไม่ใช่เรื่องยาก” อ้างอิง

Body Composition Analysis การวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายคืออะไร และข้อจำกัดของ BMI

          รู้หรือไม่ !? การใช้ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวัดความสมส่วนของมวลร่างกายจากน้ำหนักและส่วนสูง แม้ว่าการใช้ดัชนีมวลกาย จะเป็นตัวชี้วัดที่ง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ ค่าดัชนีมวลกายไม่สามารถบอกได้ว่า น้ำหนักตัวของแต่ละบุคคลมาจาก กล้ามเนื้อ ไขมัน หรือปริมาณน้ำในร่างกาย สิ่งนี้จะทำให้ผู้ที่มีกล้ามเนื้อสูง เช่น นักกีฬา นักกล้าม ก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเกิน หรือมีภาวะเป็นโรคอ้วนได้ และในทางกลับกันผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติ อาจจะมีไขมันในร่างกายสูง (ภาวะผอมแต่ไขมันเกิน) ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และเบาหวาน ดังนั้น          การวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย (Body Composition Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เปอเซ็นต์ไขมันในร่างกาย มวลกล้ามเนื้อ น้ำในร่างกาย ไขมันในช่องท้อง และมวลกระดูก จึงกลายเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการประเมินสุขภาพมากกว่า และช่วยประเมินสุขภาพเชิงลึก แถมยังสามารถวางแผนดูแลสุขภาพเฉพาะคนได้แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วเราจะรู้องค์ประกอบร่างกาย (Body Composition) ของเราได้อย่างไร ?                   ในปัจจุบันมีเครื่องวิเคราะห์มวลร่างกาย (Body Composition Analyzer) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้สำหรับชั่งน้ำหนัก … Read more

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปี

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี ? การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นการดูแลสุขภาพที่มีประสัทธิภาพ เพราะเป็นการคัดกรองโรคเบื้องต้น และเป็นการหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหากตรวจพบในระยะเริ่มต้นจะได้รีบดูแลรักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีประโยชน์ต่อตัวผู้รับการตรวจ และแพทย์ เพราะช่วยให้มีโอกาสป้องกันและรักษาก่อนที่โรคจะพัฒนาไปมากขึ้น ตรวจสุขภาพประจำปีตรวจอะไรบ้าง ? สำหรับการตรวจสุขภาพโดยรวมเบื้องต้นทั้งเพศหญิงและเพศชาย ประกอบไปด้วย: ตรวจร่างกายทั่วไป เช่น วัดความดัน ดัชนีมวลกาย และสอบถามประวัติสุขภาพ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) หาความผิดปกติของเลือด ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) ประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน ตรวจระดับไขมันในเลือด เช่น คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ตรวจกรดยูริก ประเมินความเสี่ยงโรคเก๊าท์ ตรวจการทำงานของไต เช่น ระดับครีเอตินิน ตรวจการทำงานของตับ ประเมินความผิดปกติของตับและทางเดินน้ำดี ตรวจปัสสาวะ วินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ ประเมินโรคในระบบทางเดินอาหาร (ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ประเมินการทำงานของหัวใจ เอกซเรย์ปอด ตรวจความผิดปกติในช่องทรวงอก อัลตราซาวนด์ช่องท้อง ตรวจความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง ตรวจสุขภาพตา เช่น การมองเห็นและความดันลูกตา การตรวจสุขภาพเพิ่มเติม สำหรับเพศหญิง: ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การตรวจมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก ด้วยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap … Read more

6 แนวทางในการลดน้ำหนักอย่างยั่งยืน

การลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำได้ภายในเวลาอันสั้น หากแต่เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความอดทน ความพยายาม และวินัยในการดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่อง การลดน้ำหนักอย่างยั่งยืนและปลอดภัยต้องคำนึงถึงการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสมดุล 6 แนวทางในการลดน้ำหนักอย่างยั่งยืน 1. การตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้และยั่งยืน การลดน้ำหนักที่ยั่งยืนควรเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ เช่น การลดน้ำหนักประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นอัตราที่ปลอดภัยและเหมาะสม เป้าหมายที่สมเหตุสมผลจะช่วยลดความกดดันและทำให้คุณมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ 2. การควบคุมอาหารด้วยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ การลดน้ำหนักควรเน้นที่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เช่น 3. การจัดการปริมาณแคลอรี่ การควบคุมปริมาณแคลอรี่ที่รับประทานเป็นสิ่งสำคัญในการลดน้ำหนัก คุณควรทำการคำนวณแคลอรี่ที่เหมาะสมสำหรับการลดน้ำหนักของคุณและจัดการปริมาณอาหารให้สอดคล้องกับเป้าหมาย แต่ควรหลีกเลี่ยงการลดแคลอรี่ลงมากเกินไป เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและพลังงาน 4. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นส่วนสำคัญในการลดน้ำหนัก ควรเลือกการออกกำลังกายที่คุณชื่นชอบและทำได้อย่างสม่ำเสมอ 5. การติดตามและปรับเปลี่ยนแผน การติดตามความก้าวหน้าเป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณเห็นผลลัพธ์และปรับเปลี่ยนแผนตามความเหมาะสม หากน้ำหนักลดลงช้ากว่าที่คาดไว้ ควรประเมินและปรับเปลี่ยนแผนอาหารและการออกกำลังกายให้เหมาะสม 6. การดูแลสุขภาพจิตใจและการพักผ่อน สุขภาพจิตเป็นส่วนสำคัญในการลดน้ำหนัก การจัดการความเครียดและการนอนหลับเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดโอกาสการเกิดภาวะอ้วนหรือโรคที่เกี่ยวข้อง การลดน้ำหนักที่ยั่งยืนและปลอดภัยไม่ใช่เพียงแค่การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว แต่เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในระยะยาว โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสมดุลควบคู่กันไป นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิตและการพักผ่อนอย่างเพียงพอเพื่อให้สามารถลดน้ำหนักได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน อ้างอิง

ตัวช่วยคนไทยให้สุขภาพดีมีสุขด้วยแอปพลิเคชัน “ไทยสุข”

กลุ่มโรคอันดับหนึ่งที่คร่ำชีวิตคนไทยในปัจจุบันคือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกกันว่า “เอ็นซีดี” (non-communicable diseases) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โขมันในเลือดสูง ซึ่งแม้ว่าการดำเนินโรคจะเซ็นไปอย่างช้า ๆ ไม่กระโตกกระตาก แต่จริง ๆ แล้วมีการสะสมอาการอย่างต่อเนื่อง แล:ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้นอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อร้ง ฯลๆ นำไปสู่การสูญเสี่ย ไม่ว่าจะเสี่ยเวลา เสียเงิน ไปจนถึงเสี่ยชีวิตถ้าถามถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกลุ่มนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลัก 4 อย่าง คือ ลดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มการออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ และจำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ประมาณร้อยละ 80 และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ประมาณ 1 ใน 3 ดังนั้นหากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมการใช้ชีวิตโดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมพักผ่อนให้พอเพียง ร่วมกับการจดบันทึกและติดตามสุขภาพเป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเหล่านี้ได้ ผู้ที่กำลังวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อยากออกกำลังกาย อยากดูแลสุขภาพ และอยากได้ผู้ช่วยที่จะมาคอยอำนวยความสะดวกให้แผนการมีสุขภาพดีดำเนินไปอย่างราบรื่นไม่มีสะดุด กองบรรณาธิการสาระวิทย์มีแอปพลิเคชันผลงานนักวิจัยไทย ดาวน์โหลดง่าย ใช้ฟรี มาแนะนำให้ลองใช้กัน … Read more

สุขภาพดี เริ่มต้นง่ายๆ กับการออกกำลังกายในวัยทำงาน

ในปัจจุบันชีวิตการทำงานเต็มไปดวยความเร่งรีบ ทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพ เลยส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือ NCDs เช่น เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันสะสม เป็นต้น การออกกำลังกายจึงเป็นหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยป้องกัน และชะลอความเสื่อมของร่างกาย ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายควรออกอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 30 นาทีต่อวัน แบ่งการออกกำลังกายเป็น 3 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์ การเลือกออกกำลังกายสำหรับวัยทำงาน ควรเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับความชอบและร่างกายของเรา ในช่วงแรกอาจจะพยายามเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันต่างๆ ทั้งในที่ทำงาน บ้าน หรือระหว่างการเดินทางให้มากที่สุด จากนั้นค่อยๆ เพิ่มการออกกำลังกายอย่างอื่นเข้ามา เช่น คาร์ดิโอ: เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ เสริมสร้างระบบหัวใจและหลอดเลือด สร้างกล้ามเนื้อ: ยกน้ำหนัก ดึงข้อ บอดี้เวท ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก ยืดเหยียด: โยคะ พิลาทิส … Read more

กินผักผลไม้ครบ 5 สี สุขภาพดี สดใสทุกวัย

ในปัจจุบันเรามักใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ หลายคนอาจละเลยการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องการกินอาหาร ซึ่งอาจทานอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารแปรรูป หรืออาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว การกินผักผลไม้ เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจ เพราะผักผลไม้เป็นแหล่งวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคต่างๆ และช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกินผักผลไม้ให้ครบ 5 สี เป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน แต่ละสีของผักผลไม้มีสารอาหารและประโยชน์ที่แตกต่างกัน ดังนี้ การกินผักผลไม้ครบ 5 สี ควรทานให้ได้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของจานข้าวในแต่ละมื้อ แบ่งเป็นผัก 3 ส่วน ผลไม้ 2 ส่วน จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ส่งผลดีต่อสุขภาพดังนี้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรค NCDs บำรุงสายตา ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ผิวพรรณสดใส และรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า อ้างอิง ThaiSook

ให้การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเพิ่มความฟิตอย่างยั่งยืน

ในบทความเรื่อง “อายุยืนด้วยการออกกำลังกาย” สาระวิทย์ฉบับที่ 128 ผมได้เล่าถึงแนวโน้มปัจจุบันของเป้าหมายทางการแพทย์ที่ไม่ควรเน้นแค่การรักษาโรคเพื่อให้คนมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น โดยที่ช่วงท้ายของชีวิตต้องกินยาจำนวนมาก ต้องไปโรงพยาบาลหรือรับการรักษาอยู่เป็นประจำไม่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันด้วยตนเองได้เหมือนที่เคย ซึ่งท้ายที่สุดก็จะกระทบต่อสุขภาพทางอารมณ์ (emotional health) และคุณภาพชีวิต แต่ให้มุ่งเป้าหมายการแพทย์ปัจจุบันไปที่การมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และยังทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง ตราบที่ยังใช้ชีวิตอยู่ (healthspan) การที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ต้องคำนึงถึงสิ่งที่สำคัญกว่าการรักษานั่นคือ การป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นโรค โดยเฉพาะในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่คร่าชีวิตคนมากถึงปีละ 41 ล้านคน หรือกว่าร้อยละ 74 ของการเสียชีวิตทั้งหมด องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ประเมินว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และประมาณ 1 ใน 3 ของโรคมะเร็ง ป้องกันได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลัก 4 อย่าง คือ ลดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มการออกกำลังกาย เลิกการใช้บุหรี่ และจำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์ ซึ่งทั้งหมดนี้แก้ไขได้จากสิ่งที่เราเลือกบริโภคเข้าไป และการออกกำลังกาย … Read more

เทคนิคฟิตหุ่นง่ายๆ สำหรับชาวออฟฟิศ

ชีวิตออฟฟิศที่เต็มไปด้วยงานนั่งโต๊ะอาจเป็นอุปสรรคที่ทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและรูปร่างของเรา การนั่งนานๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง แขนหรือไหล่ และส่งผลต่อการเผาผลาญพลังงานของร่างกายเราได้ด้วย นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้เรามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องกังวล! ยังมีเทคนิคและกิจกรรมที่เราสามารถทำได้ในสถานที่ทำงานเพื่อช่วยให้ร่างกายของเรามีการเคลื่อนไหวและเผาผลาญพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้ชาวออฟฟิศฟิตหุ่นได้ โดยไม่ต้องเข้าฟิตเนส ดังนี้ 1. กินอาหารให้ครบมื้อ และอย่าลืมมื้อเช้า มื้อเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุดของวัน ช่วยให้ร่างกายมีพลังงานสำหรับการทำงาน ควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวกล้อง ไข่ โยเกิร์ต ผลไม้ เป็นต้น และกินมื้อเช้าให้เป็นเวลา ช่วยให้มีพลังงานตลอดเวลา และไม่หิวจนกินมื้อเที่ยงมากเกินไป มื้อกลางวัน พยายามเลือกกินอาหารคลีน หรือทำอาหารเองเพื่อควบคุมส่วนผสม และเน้นกินโปรตีน เช่น อกไก่ ปลา ไข่ และผักผลไม้ เลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารทอด อาหารที่มีไขมันสูง และน้ำตาล เป็นต้น มื้อเย็น ควรลดปริมาณอาหารลง เน้นกินผักผลไม้ และอาหารที่มีโปรตีน และควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสม 2. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ น้ำเปล่าช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความอยากอาหาร และช่วยเผาผลาญแคลอรี่ ดังนั้น ควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 8 แก้ว … Read more

ปริมาณคอเลสเตอรอลและกรดไขมันในอาหาร

การบริโภคไขมันในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวันสำหรับคนทั่วไป เพื่อให้ได้พลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ควรได้รับไขมันร้อยละ 20-30 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน โดยมีข้อแนะนำในการบริโภคไขมันตามความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคล โดย โดยแยกเป็นชนิดของไขมันดังนี้ 1 . รับประทานกรดไขมันอิ่มตัว น้อยกว่าร้อยละ 7 ของปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อวัน 2. รับประทานไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อวัน 3. รับประทานไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อวัน 4. รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน ตารางคอเลสเตอรอลและกรดไขมันในอาหาร รายการ ปริมาณ คอเลสเตอรอล ไขมัน กรดไขมัน (มิลลิกรัม) กรัม มิลลิกรัม กรัม SFA* MUFA* PUFA* 18:1 18:2 EPA* DHA* ไก่,น่อง 100 100 10 2957 4552 2366 3747 2116 28 … Read more