ตารางอาหารที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน

การควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก สิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงถึงคืออาหารที่เรากิน การเลือกกินอาหารควรจะเลือกอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ และมีปริมาณที่เหมาะสมกับกิจวัตรประจำวันของเรา เพื่อความสมดุลระหว่างพลังงานที่รับกับพลังงานที่ใช้ ถ้าหากเรากินมากเกินไป หรือกินเกินความต้องการของร่างกาย อาจจะส่งผลให้น้ำหนักขึ้นได้ เนื่องจากพลังงานส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้งานจะถูกเก็บสะสมไว้ในรูปแบบของไขมัน ดังนั้น เราควรกินอาหารที่มีความหลากหลาย ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป และได้รับสารอาหารที่ร่างกายต้องการครบถ้วน จากข้อมูล กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวไว้ว่า พลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน– ผู้ชาย : ที่ต้องการลดน้ำหนัก ควบคุมอาหารเพื่อความปลอดภัย ตามคำแนะนำ ควรกินอาหารไม่น้อยกว่า 1,400 กิโลแคลอรี– ผู้หญิง : ที่ต้องการลดน้ำหนัก ควบคุมอาหารเพื่อความปลอดภัย ตามคำแนะนำ ควรกินอาหารไม่น้อยกว่า 1,200 กิโลแคลอรี วันนี้แอดมินมีตารางอาหารที่บอกถึงสารอาหารแต่ละชนิดที่เราจะได้รับจากอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภท เพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้ในเลือกอาหารให้เหมาะสมกับการลดน้ำหนัก ตารางอาหารที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน ต่อน้ำหนักอาหาร 100 กรัม ประเภทเนื้อ พลังงาน ปริมาณโปรตีน ปริมาณไขมัน ปริมาณคาร์โบไฮเดรต หมู 250 17 19 0 อกไก่ 126 25 3 0 แซลมอล 252 25 15 … Read more

ปริมาณกิจกรรมทางกายแต่ละช่วงวัย

ThaiSook I 2566 ประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลกประมาณ 1 ใน 4 มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลกมีกิจกรรมทางกายน้อยกว่า 150 นาที/สัปดาห์ ซึ่งเป็นการมีกิจกรรมทางกายที่น้อยมากทำให้นำไปสู่สาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรโลกถึงร้อยละ 5.5 หรือ ประมาณ 3.2 ล้านคน/ปี ที่เกิดจาก โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable Diseases: NCD) ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็งชนิดต่าง ๆ เบาหวาน รวมถึงโรคปลอดและทางเดินหายใจ ดังนั้นการมีกิจกรรมทางกายนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพโดยรวม และช่วยลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การทำกิจกรรมทางการที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงผู้สูงอายุจะช่วยสร้างความแข็งแรงของระบบกล้ามเนื้อ หัวใจ และกระดูก ส่งผลให้มีการพัฒนาการเครื่องไหวที่ดี และส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ระยะเวลาของกิจกรรมทางกายที่แนะนำในแต่ละช่วงวัย 1. เด็กอายุ 6-17 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง และระดับหนักสะสมอย่างน้อย 420 นาที/สัปดาห์ หรือสะสมอย่างน้อยวันละ 60 นาที 2. ผู้ใหญ่อายุ 18-64 … Read more

ความแก่คืออะไรทำอย่างไรไม่ให้แก่ ตอนที่ 3 การออกกำลังกายและปัจจัยอื่น ๆ

ThaiSook I 2566 ในสองตอนที่ผ่านมาผมได้เล่าให้ฟังถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแก่และทฤษฎีกระบวนการฮอร์มีซิส (hormesis) ของ ดร.เดวิด ซินแคลร์ (David Sinclair) นักวิจัยด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งบอกว่าในร่างกายเรามีกลไกที่เกี่ยวข้องกับวงจรการอยู่รอดและซ่อมแซมร่างกาย ถ้ามีสิ่งที่ทำให้เกิดความยากลำบากทางชีวภาพแต่ไม่มากเกินไปมากระตุ้น กลไกเหล่านี้ก็จะทำงานช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้ โดยวิธีแรกที่ ดร.เดวิดแนะนำให้ทำเพื่อจะช่วยกระตุ้นการทำงานของกลไกการซ่อมแซมร่างกายดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร คือ กินให้น้อยลง อย่ากินบ่อย และลดปริมาณการกินเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดงแปรรูป รวมถึงให้ลองปรับความคิดใหม่ว่าความหิวบ้างเป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องแย่ และไม่จำเป็นต้องรู้สึกอิ่มตลอดเวลา โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีดัชนีมวลกายมากกว่าค่ามาตรฐาน สำหรับในตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถทำได้เพื่อกระตุ้นกลไกการซ่อมแซมร่างกายและรีไซเคิลเซลล์ เพื่อให้ร่างกายเราแข็งแรงได้ยาวนานขึ้นกันต่อครับ การสร้างความเครียดทางชีวภาพให้แก่ร่างกายอีกรูปแบบโดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรต่อเชลล์ คือ การออกกำลังกายเป็นที่รู้กันดีว่าออกกำลังกายเป็นสิ่งดี และที่ผ่านมามีงานวิจัยจำนวนมากพยายามหาเหตุผลอธิบายว่าทำไมการออกกำลังกายถึงดีกับร่างกายของเรา ซึ่งเคยเชื่อกันว่า การออกกำลังกายจะช่วยกำจัดไขมันสะสมที่จับตามผนังหลอดเลือด (plaque) เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้น แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าอาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้นที่รู้แน่ชัดอย่างเดียวก็คือการออกกำลังกายทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นแน่นอนจากกล้ามเนื้อที่หนาและแข็งแรงขึ้น ซึ่งดีต่อสุขภาพปอดและหัวใจ ดร.เดวิดเชื่อว่าประโยชน์ที่สำคัญของการออกกำลังกายมาจากกลไกระดับเชลล์ การออกกำลังกายจะสร้างความเครียดให้แก่ร่างกาย โดยเพิ่มระดับนิโคตินาไมด์อะดีนีนไดนิวคลีโอโทด์ (nicotinamide adenine dinucleotide: NAD) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในปฏิกิริยาทางเคมีมากกว่า 500 อย่าง และเป็นสารสำคัญในการกระตุ้นกลไกจากกลุ่มยีนเซอร์ทูอิน กระตุ้นการผลิตพลังงาน และบังคับให้กล้ามเนื้อสร้างหลอดเลือดฝอยสำหรับลำเลียงออกซิเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนทำให้กลไกที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดและซ่อมแซมร่างกาย ทั้งเซอร์ทูอิน, … Read more

สาเหตุที่ทำให้เกิด “โรคอ้วน” คืออะไร?

ThaiSook I 2566 การรับประทานอาหารในชีวิตประจำของคนเรามักจะมีประกอบไปด้วย อาหารประเภทแป้งและโปรตีน เมื่อเรารับประทานอาหารเหล่านี้เป็นจำนวนมากจะทำให้ปริมาณพลังงานที่ได้รับมากเกินความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะเริ่มสะสมอาหารเหล่านี้ในรูปของไขมัน ยิ่งเกิดการสะสมเป็นเวลานานอาจจะกลายเป็นโรคอ้วนได้ การควบคุมปริมาณพลังงานที่บริโภคเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของร่างกาย เพื่อไม่ให้มีการสะสมไขมันเกิดขึ้นเยอะเกินจนเป็นโรคอ้วน ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักและป้องกันโรคอ้วนก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง เนื่องจากโรคนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอื่นๆ ได้ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้ โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุมาจาก สภาพพันธุกรรม พฤติกรรมทางสุขภาพ โรคทางการแพทย์ ปัจจัยจิตวิทยา: สภาพแวดล้อม: อ้างอิง ThaiSook I 2566

อันตรายจากการกินน้ำตาลมากเกินไป

ThaiSook I 2566 คุณรู้หรือไม่ ว่าการกินน้ำตาลมากเกินไปนั้นส่งผลเสียต่อคุณ? แต่อาหารที่มีน้ำตาลมักจะอร่อย ไม่ว่าจะเป็น เบเกอรีต่างๆ ชานนไข่มุก กาแฟ หรือแม้แต่อาหารที่เรามักจะเติมน้ำตาลเพื่อเพิ่มความอร่อย จนไม่รู้เลยว่านั้นเป็นการเติมน้ำตาลมากจนเกินไป และมองว่าเป็นการกินที่ปกติ จนทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมการกินที่ติดหวาน จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลเชิงเดี่ยว ซึ่งเป็นน้ำตาลที่เข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้เลือดมีสภาวะเป็นกรดมากเกินไป จนร่างกายเกิดความไม่สมดุล และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่างๆ ตามอีกมากมาย กินน้ำตาลมากเกินไป เกิดโทษต่อร่างกายอย่างไรบ้าง การบริโภคน้ำตาลมากๆ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในหลายด้าน เช่น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, การอ้วน และมีผลต่อระบบทางทันตกรรมและกระดูก นอกจากนี้ยังสามารถเป็นสาเหตุของภาวะเลือดเป็นกรด, ความดันเลือดสูง, ความเครียด, และการเกิดโรคร้ายต่างๆ นำมาซึ่งผลกระทบที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ การรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสมและควบคุมอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพที่ดี การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปอาจเกิดผลเสีย ดังนี้ การควบคุมการบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม ลดการเติมน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการรับประทานน้ำตาลจากแหล่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ผลไม้ เพื่อรักษาสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ อ้างอิง ThaiSook I 2566

กินอาหารอะไร ก่อน ระหว่าง และหลังออกกำลัง

ThaiSook I 2566      ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับการออกกำลังกายอย่างมาก แต่ความสำคัญของโภชนาการในการรับประทานอาหารก็ไม่ควรละเลยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายหนัก หรือเบา ก็ควรคำนึงถึงโภชนาการอาหาร หากขาดสารอาหารหรือได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการออกกำลังกาย ทำให้การเผาผลาญพลังงานลดลง และอาจทำให้เกิดอาการล้าหรือหน้ามืดเป็นลมได้ ดังนั้น ดังนั้นแอดมินจะมาแนะนำเกี่ยวกับการกินอาหารในสามช่วงการออกกำลังกายคือ ก่อน ระหว่าง และหลังเพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้กัน ก่อนออกกำลังกาย      ก่อนออกกำลังกายควรเลือกกินอาหารที่มีสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตสูง โปรตีนปานกลาง แต่ไขมันต่ำ  เพราะคาร์โบไฮเดรตสามารถย่อย และนำมาเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว อาหารที่ควรเลือกกินก่อนออกกำลังกาย เช่น กล้วย แอปเปิล ขนมปังโฮลวีต เป็นต้น และควรรับประทานก่อนออกกำลังกาย 3-4 ชั่วโมง การรับประทานก่อนออกกำลังกายยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ ป้องกันกล้ามเนื้อฉีก และทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น      สำหรับโปรตีนและไขมันนั้น ต้องใช้พลังงานบางส่วนในการย่อยและดูดซึม ซึ่งใช้เวลามาก หากคุณกินอาหารมากเกินไปก่อนออกกำลังกาย อาจทำให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพลดลง อ่อนเพลีย หรือท้องไส้ปั่นป่วน และอีกสิ่งหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยง คือการรับประทานผักมากๆ ก่อนออกกำลังกาย เพราะเส้นใยอาหารในผักจะช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึม จะทำให้ประสิทธิภาพการกีฬาลดลงอีกด้วย ระหว่างออกกำลังกาย      ไม่ควรรับประทานอะไร เพราะจะทำให้เกิดอาการจุกท้องหรือปวดท้อง แค่จิบน้ำบ้างเป็นครั้งคราวก็พอแล้ว หลังออกกำลังกาย      พักเหนื่อยสักพัก ถ้ารู้สึกหิวในช่วงระหว่าง 1 … Read more

การออกกำลังกาย 3 ประเภท ที่ช่วยเพิ่มสุขภาพหัวใจ

ThaiSook I 2566 การออกกำลังกายเป็นก้าวสำคัญสู่สุขภาพหัวใจที่ดี เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจ ควบคุมน้ำหนักและป้องกันความเสียหายของหลอดเลือดแดงจากคอเลสเตอรอลสูง น้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูงที่อาจนำไปสู่อาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ต้องออกกำลังกายประเภทต่างๆ ด้วยเพื่อให้มีความสมบูรณ์ของร่างกาย “การออกกำลังกายแบบแอโรบิคและการฝึกด้วยแรงต้านเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับสุขภาพของหัวใจ” ออกกำลังกายแบบแอโรบิค ให้ประโยชน์อะไรบ้าง:  การออกกำลังกายแบบแอโรบิกช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจลดลง ระยะเวลาที่ควรออก :  ตามหลักการแล้ว อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ ตัวอย่าง :  เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เล่นเทนนิส และกระโดดเชือก การออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ทำให้หัวใจเต้นแรงเป็นจังหวะ ดังนั้นแพทย์แนะนำให้ทำกิจกรรมระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ การฝึกด้วยแรงต้าน ให้ประโยชน์อะไรบ้าง:  การฝึกด้วยแรงต้านมีผลเฉพาะเจาะจงมากขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของร่างกาย Stewart กล่าวว่า สำหรับผู้ที่มีไขมันในร่างกายจำนวนมาก (รวมถึงพุงที่ใหญ่ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ) จะสามารถช่วยลดไขมันและสร้างมวลกล้ามเนื้อให้เล็กลงได้ จากงานวิจัยจะแสดงให้เห็นว่า การผสมผสานระหว่างการออกกำลังกายแบบแอโรบิคและการออกแรงต้าน อาจช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอล HDL (ดี) และลดคอเลสเตอรอล LDL (ไม่ดี) ระยะเวลาที่ควรออก :  การฝึกความต้านทานอย่างน้อยสองวัน … Read more

ประโยชน์ของโยคะ

ThaiSook I 2566 โยคะเป็นศาสตร์การแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง จัดเป็นศาสตร์การดูแลสุขภาพ แบบองค์รวม ซึ่งรวมกายกับใจของผู้ฝึกเข้าด้วยกัน โดยเทคนิคการฝึกโยคะนั้นจะให้ความสำคัญในการช่วยให้เรารู้จักสาเหตุที่ทำให้ขาดสมดุล ที่จะทำให้เกิดการเจ็บป่วย และจะช่วยปรับให้หายเป็นปกติ ดังนั้นโยคะจึงเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ช่วยพัฒนาด้านจิต ร่างกาย และการบำบัดรักษาไปพร้อมๆกัน โยคะเป็นการออกกำลังกาย และฝึกสมาธิที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงคนที่เจ็บป่วยหรือพักฟื้นจากการผ่าตัด หรือมีอาการป่วยเรื้อรัง โยคะอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการช่วยรักษา เนื่องจากการเล่นโยคะอาจจะช่วยเร่งการรักษาให้หายได้เร็วขึ้น ช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น ลดความเครียด และช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพดีขึ้น เพราะโยคะไม่เพียงแค่เป็นการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการฝึกสมาธิ เกิดการผ่อนคลายที่ช่วยให้คุณมีความสุข และความสงบในใจมากขึ้น โยคะจึงเป็นศาสตร์โบราณที่มีความสำคัญในยุคปัจจุบัน 1. โยคะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ความสมดุล และความยืดหยุ่น  การเคลื่อนไหวช้าๆ และการหายใจลึกๆ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และทำให้การทำงานของร่างกายในส่วนต่างๆ ดีขึ้น 2. โยคะช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง  การเล่นโยคะดีเทียบเท่ากับการยืดกล้ามเนื้อขั้นพื้นฐานเพื่อลดอาการปวดของร่าง และยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างได้ นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำให้เล่นโยคะเป็นการรักษาเบื้องต้นสำหรับแก้อาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง 3. โยคะสามารถบรรเทาอาการข้ออักเสบได้  จากงานวิจัยการเล่นโยคะแบบอ่อนโยนนั้นสามารถบรรเทาอาการเจ็บข้อต่อที่อ่อนและบวมสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ 4. โยคะมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ  การฝึกโยคะเป็นประจำอาจช่วยลดระดับความเครียด และลดการอักเสบในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ปัจจัยหลายอย่างที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูงและน้ำหนักเกิน นั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึกโยคะ 5. โยคะช่วยผ่อนคลายให้คุณหลับสบายขึ้น  … Read more

เพิ่มกล้ามเนื้ออย่างปลอดภัย ไม่เจ็บ และดีต่อสุขภาพ

ThaiSook I 2566 กล้ามเนื้อเป็นส่วนหนึ่งในร่างกายที่มีหน้าที่ในการช่วยออกแรงในการเคลื่อนไหว ความมั่นคง และการปรับเปลี่ยนท่าทาง รวมไปถึงปกป้องอวัยวะภายใน เนื่องจากกล้ามเนื้อนั้นจะสร้างความร้อนระหว่างการหดตัว ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้เช่นกัน ยิ่งกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นและความแข็งแรง ยิ่งจะช่วยให้เราสามารถเคลื่อนไหว และทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และฝึกความแข็งแรงมีความสำคัญต่อการรักษาสุขภาพและความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างมาก การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ เพิ่มความอดทน และเพิ่มสมรรถภาพทางกายโดยรวม รวมถึงโภชนาการที่เหมาะสม ปริมาณโปรตีนที่เพียงพอ ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และซ่อมแซมกล้ามเนื้อเช่นกัน ในปัจจุบันคนเราจึงสนใจการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อกันมากขึ้น แต่จะให้เกิดประโยชน์นั้นจะต้องทำอย่างถูกต้องและปลอดภัยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมา บอดี้เวท (Body Weight) หรือ Weight Training exercise คือ การออกกำลังกายที่เน้นการเสริมแขน ขา ท้อง และกล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใช้แรงของน้ำหนักจากอุปกรณ์ต่างๆ หรืออาจใช้น้ำหนักของร่างกายตัวเองก็ได้ในการเพิ่มแรงต้านทานให้กับกล้ามเนื้อ และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งในการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ วิธีนี้มักเรียกว่า “บอดี้เวท” หรือ “เวทเทรนนิ่ง” โดยท่าออกกำลังกายฝึกกล้ามเนื้อแบบบอดี้เวทที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ประกอบด้วย ฝึกกล้ามเนื้อแขนหลัง (Tricep Dip), สควอท (Squat), บริหารหน้าท้อง (Crunch), บริหารไหล่และขา (Shoulder press … Read more

NCDs คืออะไร?

ThaiSook I 2566 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือเรียกย่อว่า NCD (Non-communicable disease, NCD) คือ กลุ่มโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคจึงทำให้ไม่สามารถแพร่กระจายจากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งได้ ซึ่งโรค NCDs นั้นเกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เป็นหลัก เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม และการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกิน และอ้วน ที่นำไปสู่การเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการดูแลรักษา จะยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการสะสมจนเป็นโรคเรื้อรังได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง 63% ที่เกิดจากกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญกว่านั้นคือ กว่า 80% เป็นประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศไทย จากสถิติล่าสุดพบว่ามี 14 ล้านคนที่เป็นโรค ในกลุ่มโรค NCDs … Read more